รายงานผลการประเมิน

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

•พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561กำหนดให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (แผนพัฒนาฯ ) เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่องในแต่ละช่วงระยะเวลาห้าปี ซึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะสิ้นสุดลงในปี 2565 โดยที่ผ่านมา สศช. ได้จัดทำกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วนในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2564 พร้อมทั้งได้นำความคิดเห็นที่รวบรวมได้มาใช้ประกอบการจัดทำร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13

•การยกร่างแผนพัฒนาฯ พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต้องแต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างฯ ในแต่ละด้านตามกรอบของแผนพัฒนาฯ และเมื่อสภาจัดทำร่างแผนพัฒนาฯ แล้วเสร็จ ต้องเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเพื่อพิจารณาความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ จากนั้นจึงนำเสนอร่างแผนให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา แล้วจึงรายงานต่อรัฐสภาพเพื่อทราบ และให้นายกรัฐมนตรีนำร่างแผนพัฒนาฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้แผนพัฒนาฯ ต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ดำเนินการรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 จากประชาชนทุกภาคส่วน พร้อมทั้งนำความเห็นที่รวบรวมได้มาปรับปรุง (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ผ่าน
สศช. เสนอ (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติพิจารณา และคณะรัฐมนตรี ผ่าน
ประกาศแผนฯ ฉบับที่ 13 ในราชกิจจานุเบกษา ภายในกันยายน 2565 ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) โดยมีคณะอนุกรรมการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ได้ดำเนินการขับเคลื่อน SEA เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนพัฒนาประเทศของภาครัฐในการจัดทำแผนในระดับรายสาขาและเชิงพื้นที่ ที่คำนึงถึงกระบวนการมีส่วนร่วมและการบูรณาการด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

•ขอบเขตการประเมิน : การประเมินโดยอาศัยการวัดจากกระบวนการจัดทำเพื่อให้ได้คู่มือ SEAเชิงประยุกต์ในเชิงพื้นที่ เพื่อให้หน่วยงานนำไปใช้ในการจัดทำ SEA ประกอบการจัดทำแผน

•วิธีการเก็บข้อมูล : โดยเก็บข้อมูลจาก (1) ผลสรุปการถอดบทเรียนจากแนวทาง SEA ของ สศช. และจากคู่มือ SEA ของต่างประเทศ รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของหน่วยงาน
ที่จัดทำแผนในเชิงพื้นที่ (2) ร่างคู่มือ SEA เชิงพื้นที่ (3) ผลสรุปการรับฟังความคิดเห็นจากจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน (4) คู่มือ SEA เชิงพื้นที่ และ (5) รายงานการประชุมในการพิจารณาคู่มือ SEA เชิงพื้นที่ ของคณะอนุกรรมการ SEA ภายใต้ กพย. รวมทั้ง (6) การส่งคู่มือ SEA ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ สศช.

•แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน (ปี 2565)

1.ถอดบทเรียนจากแนวทาง SEA ของ สศช. และ คู่มือ SEA ของต่างประเทศ รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่จัดทำแผนในเชิงพื้นที่

2.ยกร่างคู่มือ SEA เชิงพื้นที่

3.รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน

4.ปรับปรุง คู่มือ SEA เชิงพื้นที่

5.คณะอนุกรรมการ SEA ภายใต้ กพย. พิจารณาให้ความเห็นชอบคู่มือ SEA เชิงพื้นที่

6.จัดส่งคู่มือไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่คู่มือ SEA บนเว็บไซต์ของ สศช.

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การถอดบทเรียนจาก - แนวทาง SEA ของ สศช. - คู่มือ SEA ของต่างประเทศ - ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่จัดทำแผนในเชิงพื้นที่ ผ่าน
- (ร่าง) คู่มือ SEA เชิงพื้นที่ 1 แผน - คู่มือได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ผ่าน
- คู่มือ SEA เชิงพื้นที่ 1 แผนที่ผ่านความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการ SEA ภายใต้ กพย.พร้อมจัดส่งคู่มือไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ สศช. - (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. .... เสนอ กพย. เพื่อพิจารณา ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2564 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) เป็นกลไกในการกำหนดนโยบายและขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ

•คำนิยามและขอบเขตของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ : ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2564 ข้อ 6 ระบุว่า ในกรณีพื้นที่มีความเหมาะสมให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดตั้งแต่ 3 แห่งขึ้นไปให้เรียกเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นว่า “ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ”  และตามที่ระบุในข้อ 10 ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบด้วย (1) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC-Creative LANNA) (2) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC-Bioeconomy) (3) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (Central-Western Economic Corridor: CWEC) และ (4) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)

•ความสำคัญของข้อเสนอการขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ : ปัจจุบันการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาคซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาคและประเทศจะส่งผลให้เกิดฐานการผลิตและการบริการในพื้นที่ซึ่งใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่ม และมีการเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งของไทยและของประเทศในภูมิภาค รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และพื้นที่โดยรอบ  

•ข้อเสนอการขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบด้วย ข้อเสนอพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่จะกำหนดให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละภาค (4 ภาค) และข้อเสนอองค์ประกอบ
ของการพัฒนาในแต่ละระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร่างข้อเสนอการขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ทั้ง 4 แห่งในประเด็นการกำหนดพื้นที่และองค์ประกอบ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษได้รับความเห็นชอบ จากผู้บริหาร สศช. ผ่าน
ร่างข้อเสนอการขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ทั้ง 4 แห่ง ในประเด็นการกำหนดพื้นที่และองค์ประกอบการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ผ่าน
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบข้อเสนอการขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในประเด็นการกำหนดพื้นที่และองค์ประกอบการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 แห่ง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•สศช. มีภารกิจในการรายงานสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำมาอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ความยากจนที่ผ่านมาพิจารณาจากเส้นความยากจน ซึ่งเป็นการวัดความยากจนในด้านตัวเงินและไม่ครอบคลุมนิยามของความยากจนที่รวมถึงการขัดสนและความขาดแคลนสิ่งจำเป็นในด้านต่างๆ ประกอบกับ การพัฒนาที่ยังยืน (SDGs) กำหนดเป้าหมายไว้ในเป้าหมายที่ 1 คือการยุติความยากจนทุกรูปแบบ ซึ่งครอบคลุมปัญหาความยากจนในทุกด้านจึงต้องมีการพัฒนาตัวชี้วัดที่เหมาะสมในการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์การพัฒนาดังกล่าว โดยจะนำเสนอเป็นรายงานสถานการณ์ความยากจนหลายมิติของประเทศไทยในปี 2564 เผยแพร่ผ่านเว็บไซด์ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ขั้นตอนการดำเนินงานในปี 2565

1. การเตรียมความพร้อม

•วิเคราะห์การสำรวจที่จะใช้จัดทำ

•ประชุมเพื่อเลือกข้อมูล

•จัดทำกรอบการคำนวณ/วิเคราะห์

2. การประมวลผลและวิเคราะห์

•คำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ

•วิเคราะห์ข้อมูลความยากจนหลายมิติ

3. การจัดทำและเผยแพร่รายงาน

•จัดทำ (ร่าง) รายงานฯ

•นำเสนอ (ร่าง) รายงานให้ผู้บริหารพิจารณา

•จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เผยแพร่ผ่านเว็บไซด์

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
เสนอผลการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนหลายมิติเบื้องต้นต่อผู้บริหาร สศช. ผ่าน
เสนอผลการศึกษาต่อผู้บริหาร สศช. เพื่อเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ผ่าน
เสนอผลการศึกษาและข้อเสนอแนะสำคัญต่อสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนำเข้ารายงานภาวะสังคมไตรมาสที่ 3/2565 ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•สถาบันเพื่อพัฒนาการจัดการ (International Institute for Management Development : IMD) หรือ IMD  ได้ประเมินความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ จำนวน 63 ประเทศ และ 1 เขตเศรษฐกิจ โดยในปี 2564
ได้จัดอันดับโดยตัวชี้วัดรวมทั้งสิ้น 334 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) 2) ประสิทธิภาพภาครัฐ (Government efficiency) 3) ประสิทธิภาพภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และ 4) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

•ในปี 2564 ประเทศไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น 1 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 28 เป็นผลมาจากการที่ตัวชี้วัดรวมด้านประสิทธิภาพภาครัฐดีขึ้น 3 อันดับ ประสิทธิภาพภาคธุรกิจดีขึ้น 2 อันดับ และโครงการพื้นฐานดีขึ้น 1 อันดับ อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดรวมด้านสรรถนะทางเศรษฐกิจลดลงมากถึง 7 อันดับ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ

•เป้าหมายการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน เป็นเป้าหมายการขับเคลื่อนรวมทั้งประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ที่มุ่งพัฒนาประเทศไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น อีกทั้ง ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ (ฉบับปรับปรุง) ได้กำหนดค่าเป้าหมายเพื่อการยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้ประเทศไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันที่จัดอันดับโดย IMD อยู่ในกลุ่ม 1 ใน 25 ของประเทศแรกที่ได้รับการจัดอันดับทั้งหมด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ประเทศไทยต้องพัฒนาความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้มีอันดับฯ ดีขึ้นอย่างน้อย 3 อันดับภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ข้อสังเกต

•ภายใต้กรอบการจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2565 ในเบื้องต้น สศช. โดย กพข. ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศภายใต้ภารกิจที่ สศช. เคยดำเนินมาแล้วก่อนหน้า เช่น การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับหน่วยงานที่รับผิดขอบตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง และการสัมมนาเชิงวิชาการ เป็นต้น

•ที่ผ่านมาพบว่า การจัดเก็บข้อมูลและนิยามที่ไม่ตรงกันของข้อมูลบางส่วนเป็นปัญหาสำหรับประเทศไทย ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหานี้ ปัจจุบันการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุดข้อมูลเปิดเผย (Open data)
ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นไปตามภารกิจของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และสำนักงานสถิติแห่งชาติภายใต้แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 2 ที่กำหนดให้มีการเชื่อมโยงสถิติด้วยมาตรฐานเดียวกันสู่การเปิดเผยข้อมูล ซึ่งหากดำเนินการได้สำเร็จสามารถส่งผลให้ประเทศไทยมีชุดข้อมูลที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน อันจะนำไปสู่การจัดส่งข้อมูลที่ได้มาตรฐานและมีความถูกต้องสำหรับการประมวลผลขององค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จในการส่งเสริมความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยตามการจัดอันดับของ IMD 100

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำนิยาม
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับ ต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas ที่กำหนด (จำนวน 10 ด้าน) อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่สอดคล้องกับการให้บริการ e-Service ของหน่วยงาน หรือภารกิจด้านนโยบาย ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม  ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

10 Focus Areas
1) ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม SME
2) ด้านการเกษตร
3) ด้านท่องเที่ยว
4) ด้านการมีรายได้และการมีงานทำ
5) ด้านความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน
6) ด้านสุขภาพและการสาธารณสุข
7) ด้านการศึกษา
8) ด้านสิ่งแวดล้อม
9) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ
10) ด้านความมั่นคง

เงื่อนไข
1. หน่วยงานที่มี e-Service ให้เลือก Dataset ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการที่หน่วยงานรับผิดชอบ
2. หน่วยงานด้านนโยบาย เลือก Dataset ที่สนันสนุนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ แผนการปฏิรูปประเทศ Agenda สำคัญ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นได้
3. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการ ในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
4. หน่วยงานเดิมที่มีการดำเนินการตัวชี้วัดนีในปี 2564 ให้คัดเลือกชุดข้อมูลใหม่มาดำเนินการในปี 2565 โดยสามารถนำชุดข้อมูลของปี 2564 มาต่อยอดทำให้ครบ ได้ใน Focus Area ที่คัดเลือก

เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50) = มีรายชื่อชุดข้อมูล (Data Set) ที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Area
เป้าหมายมาตรฐาน (75) = มีคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล (15 คะแนน) / มีระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (10 คะแนน)
เป้าหมายขั้นสูง (100) = นำขึ้นชุดข้อมูล metadata และระบุแหล่งข้อมูล สำหรับชุดข้อมูลที่ถูกจัดในหมวดหมู่สาธารณะ ร้อยละ 100 ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมดบนระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร.กำหนด (20 คะแนน) / นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นภายใต้ของ Focus area อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)

หมายเหตุ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จะตรวจเอกสารหลักฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และสรุปผลคะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) เพื่อเป็นผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดนี้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 95.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน
  • พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยมีเป้าหมายให้ส่วนราชการมีคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดีขึ้นจากผลคะแนนในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  • พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 375.17 (คะแนน)