รายงานผลการประเมิน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

•แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 : ปรับเปลี่ยนการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐสู่ระบบเปิดเพื่อให้ได้มาและรักษาไว้ซึ่งคนเก่ง ดีและมีความสามารถอย่างคล่องตัวตามหลักคุณธรรม กำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินการปฏิรูป โดยให้มีการพัฒนาระบบการจ้างงานรูปแบบใหม่ในภาครัฐ สอดรับกับการทำงานรูปแบบมใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องมีการจ้างงานตลอดชีพ

•การปรับระบบการจ้างงานบุคลากรภาครัฐรูปแบบใหม่ ซึ่งจะคำนึงถึงรูปแบบการจ้างงานที่หลากหลายผสมทั้งการจ้างงานแบบอาชีพ (Career based) การจ้างงานตามตำแหน่งงาน (Position based) และการจ้างงานตามสัญญาจ้าง (Contract based) ให้เหมาะสมกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล สภาพเศรษฐกิจ สังคม และแนวโน้ม การทำงานของคนรุ่นใหม่ สภาพการแข่งขันในตลาดแรงงาน และความต้องการของส่วนราชการ ทั้งนี้ การปรับระบบการจ้างดังกล่าว ไม่ใช่เพียงการพัฒนาระบบข้าราชการหรือบุคลากรของรัฐประเภทใหม่เท่านั้น
แต่หมายรวมถึงการปรับปรุงระบบและกลไกการจ้างงานที่มีในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพเชื่อมโยงสอดประสานกันในการดึงดูดบุคลากรคุณภาพรุ่นใหม่

•วัดความสำเร็จจากจำนวนหลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีการ ที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับใช้จ้างงานภาครัฐรูปแบบใหม่ ผ่านการเห็นชอบจาก คพร. หรือ ก.พ. หรือ ครม. 
โดยเรื่องการบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญงานสูงเข้ารับราชการ (Lateral Entry) ต้องผ่านความเห็นชอบจาก ก.พ. หรือ ครม. และเรื่องพนักงานราชการ (Contract Based) ต้องผ่านความเห็นชอบจาก คพร. หรือ ครม.

 

ขั้นตอนการดำเนินงานในปี 2565

1.มีการศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอ/การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานรูปแบบใหม่

2.จัดร่างทำข้อเสนอ/การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานภาครัฐรูปแบบใหม่ เสนอฝ่ายบริหารสำนักงาน ก.พ. ให้ความเห็นชอบ

3.จัดทำข้อเสนอ/การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการ จ้างงานภาครัฐรูปแบบใหม่ เสนอ อ.คพร. หรือ อ.ก.พ. ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณา

4.จัดทำข้อเสนอ/การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการ จ้างงานภาครัฐรูปแบบใหม่ เสนอ คพร. หรือ ก.พ. หรือ ครม. เพื่อพิจารณา

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีหลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีการ ที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับใช้จ้างงานภาครัฐรูปแบบใหม่ ผ่านการเห็นชอบจาก อ.คพร. หรือ อ.ก.พ. ที่เกี่ยวข้อง 1 เรื่อง ผ่าน
มีหลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีการ ที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับใช้จ้างงานภาครัฐรูปแบบใหม่ ผ่านการเห็นชอบจาก คพร. หรือ ก.พ. หรือ ครม. 1 เรื่อง ผ่าน
มีหลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีการ ที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับใช้จ้างงานภาครัฐรูปแบบใหม่ ผ่านการเห็นชอบจาก คพร. หรือ ก.พ. หรือ ครม. มากกว่า 1 เรื่อง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•การจัดทำข้อเสนอ/การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารตำแหน่ง เพื่อให้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารตำแหน่งมีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อการบริหารทรัพยากรบุคคล ของส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นการกระจายอำนาจให้ส่วนราชการ ตลอดจนปรับลดขั้นตอนการดำเนินการที่ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็นเพื่อให้ส่วนราชการมีความคล่องตัว ในการบริหารตำแหน่ง สามารถนำตำแหน่งที่ได้รับการอนุมัติจาก อ.ก.พ. กระทรวงไปใช้ประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลได้อย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป

• การวัดผลสำเร็จของตัวชี้วัด คือ มีข้อเสนอ/การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารตำแหน่งที่ยืดหยุ่นและคล่องตัวตอบสนองต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

 

ขั้นตอนการดำเนินงานในปี 2565

1.ศึกษาและวิเคราะห์ ข้อดี-ข้อเสียของหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารตำแหน่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

2.จัดทำร่างข้อเสนอ/การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารตำแหน่ง เสนอฝ่ายบริหารสำนักงาน ก.พ. ให้ความเห็นชอบ

3.จัดทำข้อเสนอ/การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารตำแหน่ง เสนอ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลระบบเปิดเพื่อพิจารณา

4.จัดทำข้อเสนอ/การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารตำแหน่ง เสนอ ก.พ. เพื่อพิจารณา

5.แจ้งเวียนส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ข้อเสนอ/การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารตำแหน่ง ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจาก อ.ก.พ.ฯ อย่างน้อย 1 เรื่อง ผ่าน
ข้อเสนอ/การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารตำแหน่ง ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบ จาก ก.พ. อย่างน้อย 1 เรื่อง ผ่าน
มีการนำหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารตำแหน่ง ที่ผ่านความเห็นชอบจาก ก.พ. แจ้งเวียนส่วนราชการและถือปฏิบัติ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

นิยาม : การปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ หมายถึง การปฏิบัติราชการแนวใหม่ที่ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิต ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ และการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติราชการ
ทั้งงานในเชิงนโยบาย งานในเชิงปฏิบัติการ งานให้บริการประชาชน โดยแนวทางการปฏิบัติงานที่รองรับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ประกอบด้วย รูปแบบการปฏิบัติราชการ 4 รูปแบบ ดังนี้

1) รูปแบบการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง ในเวลาราชการ (08.30 – 16.30 น.)
2) รูปแบบการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง แบบยืดหยุ่นเวลาทำงาน
3) รูปแบบการปฏิบัติงานในสถานที่ตั้ง  แบบยืดหยุ่นเวลาทำงาน

4) รูปแบบผสมผสาน (Hybrid) ที่บุคลากรเลือกปฏิบัติงานได้ ทั้งนอกและในสถานที่ตั้ง ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและสถานการณ์การทำงาน

แผนดำเนินงานตามตัวชี้วัดฯ (Action plan)

1.จัดทำข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Anywhere)

2.เสนอแนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Anywhere) ให้ ก.พ. พิจารณา และได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.

3.จัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Anywhere) ที่รองรับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)

ขั้นตอนการดำเนินงานในปี 2565

1.ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำร่างข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Anywhere)

2.ข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้รับ ความเห็นชอบจากผู้บริหารสำนักงาน ก.พ.

3.เสนอแนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง ให้ ก.พ. พิจารณา และได้ความเห็นชอบจาก ก.พ.

4.จัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง และได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารสำนักงาน ก.พ.

5.เผยแพร่คู่มือให้ส่วนราชการทราบและนำไปดำเนินการ

6.ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอการปรับปรุง/แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง

7.ข้อเสนอการปรับปรุง/แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อ การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้รับความเห็นชอบจาก       ผู้มีอำนาจ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
แนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Anywhere) ได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. ผ่าน
มีคู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐตามแนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Anywhere) ที่รองรับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ผ่าน
มีข้อเสนอการปรับปรุง/แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Anywhere) ที่รองรับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•การประเมินผู้บริหารของส่วนราชการ เป็นการดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 ซึ่งมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. กำหนดประเด็นการประเมินผู้บริหารเพิ่มเติมให้ชัดเจน โดยอาจพิจารณากำหนดตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับบริบทในภาคราชการ เช่น ความรู้ความเข้าใจในยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ เป็นต้น

•การประเมินผู้บริหารของส่วนราชการ ประเมินจากความสำเร็จในการจัดทำกรอบการประเมินฯ และแบบประเมินฯ ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และสามารถดำเนินการประเมินในรอบ 6 เดือน และ 12 เดือน

•กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ผู้รับการประเมิน คือ ผู้บริหารของส่วนราชการ ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า อธิบดีหรือเทียบเท่า จำนวน 153 ส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด

ขั้นตอนการดำเนินงานในปี 2565

1.วิเคราะห์ และจัดทำกรอบการประเมินฯ ตลอดจนแบบประเมินผู้บริหารของส่วนราชการที่ได้รับการปรับปรุงตามมติ ครม. วันที่ 14 กันยายน 2564

2.จัดทำข้อเสนอ/การปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการ และแบบประเมินที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผู้บริหารของส่วนราชการ เสนอ อ.ก.พ. หรือ ก.พ. เพื่อพิจารณา

3.แจ้งเวียนส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ

4.รวบรวมข้อมูลและสรุปผลการดำเนินการประเมินผู้บริหารของส่วนราชการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีกรอบการประเมินฯ และแบบประเมินผู้บริหารของส่วนราชการ ที่ได้รับการปรับปรุงตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 ผ่านความเห็นชอบจาก ก.พ. ผ่าน
มีกลไกการประเมินผู้บริหารของส่วนราชการ และสามารถนำมาใช้ประเมินผลฯ รอบ 6 เดือน ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผ่าน
มีกลไกการประเมินผู้บริหารของส่วนราชการ และสามารถนำมาใช้ประเมินผลฯ รอบ 12 เดือน ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำนิยาม
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับ ต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas ที่กำหนด (จำนวน 10 ด้าน) อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่สอดคล้องกับการให้บริการ e-Service ของหน่วยงาน หรือภารกิจด้านนโยบาย ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม  ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

10 Focus Areas
1) ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม SME
2) ด้านการเกษตร
3) ด้านท่องเที่ยว
4) ด้านการมีรายได้และการมีงานทำ
5) ด้านความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน
6) ด้านสุขภาพและการสาธารณสุข
7) ด้านการศึกษา
8) ด้านสิ่งแวดล้อม
9) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ
10) ด้านความมั่นคง

เงื่อนไข
1. หน่วยงานที่มี e-Service ให้เลือก Dataset ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการที่หน่วยงานรับผิดชอบ
2. หน่วยงานด้านนโยบาย เลือก Dataset ที่สนันสนุนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ แผนการปฏิรูปประเทศ Agenda สำคัญ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นได้
3. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการ ในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
4. หน่วยงานเดิมที่มีการดำเนินการตัวชี้วัดนีในปี 2564 ให้คัดเลือกชุดข้อมูลใหม่มาดำเนินการในปี 2565 โดยสามารถนำชุดข้อมูลของปี 2564 มาต่อยอดทำให้ครบ ได้ใน Focus Area ที่คัดเลือก

เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50) = มีรายชื่อชุดข้อมูล (Data Set) ที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Area
เป้าหมายมาตรฐาน (75) = มีคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล (15 คะแนน) / มีระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (10 คะแนน)
เป้าหมายขั้นสูง (100) = นำขึ้นชุดข้อมูล metadata และระบุแหล่งข้อมูล สำหรับชุดข้อมูลที่ถูกจัดในหมวดหมู่สาธารณะ ร้อยละ 100 ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมดบนระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร.กำหนด (20 คะแนน) / นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นภายใต้ของ Focus area อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)

หมายเหตุ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จะตรวจเอกสารหลักฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และสรุปผลคะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) เพื่อเป็นผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดนี้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน
  • พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยมีเป้าหมายให้ส่วนราชการมีคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดีขึ้นจากผลคะแนนในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  • พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 417.28 (คะแนน)