รายงานผลการประเมิน

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

1. การตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะดำเนินการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จตามที่คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย โดยประเมินตามลำดับกฎหมาย 2 ประเภท
     1.1 กฎหมายแม่บท ได้แก่ พระราชบัญญัติ
     1.2 กฎหมายลูกบท ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง/ต่ำกว่า  

2. โดยกำหนดมาตรฐานระยะเวลาแล้วเสร็จ ดังนี้
     2.1 กฎหมายขนาดสั้น (จำนวนตั้งแต่ 1 - 10 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 3 เดือน
     2.2 กฎหมายขนาดกลาง (จำนวนตั้งแต่ 11 - 20 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน
     2.3 กฎหมายขนาดยาว (จำนวนตั้งแต่ 21 มาตรา/ข้อ ขึ้นไป) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 1 ปี
     2.4 กฎหมายที่มีแผนที่แนบท้าย ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายปกติไม่เกิน 4 เดือน แผนที่มากกว่า 1 แผ่น ไม่เกิน 6 เดือน มีปัญหาความยุ่งยาก ไม่เกิน 8 เดือน
     2.5 กฎหมายที่มีบัญชีท้าย/ภาคผนวกท้าย จำนวน 1 หน้า ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 4 เดือน จำนวน 2 - 10 หน้า ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 11 หน้า ขึ้นไป ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 8 เดือน

     ทั้งนี้ กฎหมายตามแผนปฏิรูปประเทศใช้มาตรฐานระยะเวลาเดียวกัน โดยมาตรฐานระยะเวลาแล้วเสร็จตามข้อ 2 ไม่รวมระยะเวลาที่ต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (RIA) และระยะเวลารอเข้าประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาและระยะเวลาที่ไม่อยู่ในการพิจารณาของสำนักงานฯ จะไม่นำมานับเป็นระยะเวลาในการตรวจพิจารณากฎหมาย

3. ร่างกฎหมายที่ไม่นำมานับเป็นผลการดำเนินงาน โดยมีเหตุผลที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามกระบวนการพิจารณาปกติ เรียกว่า ประเภทของกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษ จำนวน 6 ประเภท ดังนี้
     3.1 ประเภท 1 หมายถึง กฎหมายที่มีผลกระทบในทางสังคมหรือเศรษฐกิจเป็นอย่างมากจำเป็นต้องรับฟังผู้เกี่ยวข้องหรือการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
     3.2 ประเภท 2 หมายถึง กฎหมายที่มีเนื้อหาเป็นการกำหนดองค์กร หรือโครงสร้างทางการเมือง ซึ่งกระทบต่อกระบวนการการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงกฎหมายที่ต้องทบทวนหลักการให้แตกต่างจากหลักการเดิม และต้องการวางกลไกทางกฎหมายมากเป็นพิเศษ หรือมีข้อโต้แย้งมากจำเป็นต้องพิจารณาให้ได้ข้อยุติก่อน
     3.3 ประเภท 3 หมายถึง กฎหมายที่ต้องมีขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามพันธะข้อตกลงระหว่างประเทศซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
     3.4 ประเภท 4 หมายถึง กฎหมายที่ต้องตราขึ้นเพื่อรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ และติดตามทบทวนวิทยาการใหม่ ๆ
     3.5 ประเภท 5 หมายถึง กฎหมายในลักษณะที่จะต้องจัดทำกฎหมายอื่นให้สอดคล้องไปในคราวเดียวกันหลายฉบับหรือมีลักษณะเป็นประมวลกฎหมาย
     3.6 ประเภท 6 หมายถึง กฎหมายที่มีแผนที่แนบท้ายที่มีลักษณะยุ่งยากและซับซ้อนต้องตรวจสอบความทับซ้อนกฎหมายอื่นจำนวนมาก มีกระบวนการตรวจพิจารณามากกว่ากฎหมายปกติ

4. การนับจำนวนเรื่องรับเข้า หมายถึง เรื่องที่ยังยู่ในเวลามาตรฐาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • กฎหมายขนาดสั้น (จำนวนตั้งแต่ 1 - 10 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 3 เดือน  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 ก.ค. 64 – 30 มิ.ย. 65
  • กฎหมายขนาดกลาง (จำนวนตั้งแต่ 11 - 20 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 เม.ย. 64 – 31 มี.ค. 65
  • กฎหมายขนาดยาว (จำนวนตั้งแต่ 21 มาตรา/ข้อ ขึ้นไป) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 1 ปี  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 ต.ค. 63 – 30 ก.ย. 64

5. การเร่งรัดการตรวจพิจารณาดำเนินงานเรื่องค้างดำเนินการก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นการดำเนินการเร่งรัดการตรวจพิจารณาเรื่องการค้างดำเนินการของ 1) กฎหมายแม่บท ได้แก่ พระราชบัญญัติ 2) กฎหมายลูกบท ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง/ต่ำกว่า และ 3) ความเห็นทางกฎหมายประเภททั่วไป ที่ไม่สามารถตรวจพิจารณาได้แล้วเสร็จตามกรอบเวลามาตรฐานการตรวจพิจารณาปกติ และต้องดำเนินงาน ณ 30 กันยายน 2564 จำนวน X เรื่อง แบ่งเป็น
     5.1 กฎหมายแม่บท จำนวน A เรื่อง
     5.2 กฎหมายลูกบท จำนวน B เรื่อง
     5.3 ความเห็นทางกฎหมายประเภททั่วไป จำนวน C เรื่อง

6. การนับจำนวนเรื่องรับเข้า เรื่องที่รับก่อน 1 ตุลาคม 64 ที่ยังตรวจพิจารณาไม่แล้วเสร็จและเกินเวลามาตรฐานตามที่กำหนดไว้จนถึง 30 กันยายน 2564 ไม่กำหนดมาตรฐานระยะเวลาการตรวจพิจารณาปกติ เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับการดำเนินงานปกติในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  

ขอบเขตการประเมิน :
• การนับจำนวนเรื่องรับเข้า หมายถึง เรื่องที่ยังยู่ในเวลามาตรฐาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • กฎหมายขนาดสั้น (จำนวนตั้งแต่ 1 - 10 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 3 เดือน  -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 ก.ค. 64 – 30 มิ.ย. 65
  • กฎหมายขนาดกลาง (จำนวนตั้งแต่ 11 - 20 มาตรา/ข้อ) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 เม.ย. 64 – 31 มี.ค. 65
  • กฎหมายขนาดยาว (จำนวนตั้งแต่ 21 มาตรา/ข้อ ขึ้นไป) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายไม่เกิน 1 ปี -> นับเรื่องรับเข้าตั้งแต่ 1 ต.ค. 63 – 30 ก.ย. 64

• การวัดความสำเร็จการดำเนินงาน ให้นับกฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จได้ตามมาตรฐานระยะเวลา

• การนับเวลามาตรฐานการดำเนินงาน เริ่มนับตั้งแต่วันที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาลงรับเรื่อง

• นับเรื่องเสร็จ ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565

วิธีการเก็บข้อมูล : การจัดเก็บข้อมูลจากแบบรายงานประจำเดือน และระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล : ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สูตรการคำนวน : จำนวนเรื่องที่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด  x 100 / จำนวนเรื่องรับเข้า

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จในการตรวจพิจารณากฎหมายแล้วเสร็จ ตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย และการเร่งรัดการตรวจพิจารณาดำเนินงานเรื่องค้างดำเนินการ 95.57 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นการวัดความสำเร็จของการให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายหรือที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ หรือวางระเบียบ

ปฏิบัติราชการให้ชัดเจน หรือเป็นการวินิจฉัยข้อโต้แย้งระหว่างหน่วยงานของรัฐให้เป็นที่ยุติ ในเรื่องของกฎหมายเกี่ยวกับ กระบวนการยุติธรรม กฎหมายระหว่างประเทศ การเงินการคลัง

การบริหารราชการแผ่นดิน พาณิชย์ อุตสาหกรรม การศึกษาวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและการคมนาคม โดยกำหนดมาตรฐานระยะเวลาแล้วเสร็จไว้ จำนวน 53 วัน

ขอบเขตการประเมิน :
• นับเรื่องเข้าตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2564 – 31 กรกฎาคม 2565
• กำหนดมาตรฐานระยะเวลาแล้วเสร็จไว้จำนวน 53 วัน
• การนับเวลามาตรฐานการดำเนินงาน เริ่มนับตั้งแต่วันที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาลงรับเรื่อง
• นับเรื่องเสร็จ ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565

วิธีการเก็บข้อมูล : การจัดเก็บข้อมูลจากแบบรายงานประจำเดือน และระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล : ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สูตรการคำนวน :  จำนวนเรื่องที่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด x 100 /  จำนวนเรื่องรับเข้า

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการให้ความเห็นทางกฎหมายประเภทความเห็นทั่วไป 91.30 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

1. การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย หมายถึง การวิเคราะห์ผลกระทบตามหลักการที่กำหนดไว้ในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ และดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัติการจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 โดยสำนักงานฯ จะตรวจพิจารณาถึงความจำเป็นในการตรากฎหมาย และหากจำเป็นต้องมีการตรากฎหมายจะต้องไม่เป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจำเป็น คุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นแก่รัฐและประชาชน รวมทั้งมีมาตรการหรือวิธีการที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมาย และในกรณีที่เห็นสมควรจัดให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบเพิ่มเติมสำหรับร่างกฎหมายที่ได้ตรวจพิจารณาแล้ว

2. นับผลการดำเนินการในร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีการวิเคราะห์ผลกระทบ

3. ร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่นำมานับเป็นผลดำเนินงาน ต้องมีการจัดทำสรุปผลการวิเคราะห์ผลกระทบ โดยอาจเป็นในชั้นพิจารณาของสำนักงานฯ หรือในบันทึกประกอบร่างกฎหมายที่ตรวจพิจารณาแล้วก็ได้

ขอบเขตการประเมิน :
• ดำเนินการจัดให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายนั้น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายว่าด้วยการจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
• นับผลการดำเนินการในร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีการวิเคราะห์ผลกระทบ
• ร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่นำมานับเป็นผลดำเนินงานต้องมีการจัดทำสรุปผลการวิเคราะห์ ผลกระทบ โดยอาจเป็นในชั้นพิจารณาของสำนักงานฯ หรือในบันทึกประกอบร่างกฎหมายที่ตรวจพิจารณาแล้วก็ได้
• นับเรื่องเข้า ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565
• ผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565

วิธีการเก็บข้อมูล : การจัดเก็บข้อมูลจากแบบรายงานประจำเดือน และระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล : ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สูตรการคำนวน :  จำนวนร่างพระราชบัญญัติที่ดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบแล้วเสร็จ x 100 / จำนวนร่างพระราชบัญญัติที่กำหนดวิเคราะห์ผลกระทบทั้งหมด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment : RIA 95.45 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

1. เป็นตัวชี้วัดเพื่อผลักดันแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากฎหมาย ซึ่งกำหนดตัวชี้วัด “สัดส่วนของกฎหมายที่ได้รับการทบทวนแก้ไข ปรับปรุง และ/หรือยกเลิก ให้มีเนื้อหาที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ” และแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านกฎหมาย กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 มีกลไกยกเลิกหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่สร้างภาระหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชน ซึ่งกำหนดเป้าหมายให้กระบวนงานที่เกี่ยวกับการอนุญาตและกฎหมายที่สร้างภาระหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือประกอบอาชีพของประชาชนได้รับการปรับปรุง

2. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แผนย่อยการพัฒนากฎหมาย กำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดสัดส่วนของกฎหมายที่ได้รับการทบทวนแก้ไข ปรับปรุง และ/หรือยกเลิก ให้มีเนื้อหาที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ปี 2561 - 2565 ไว้ที่ร้อยละ 50 ของกฎหมายทั้งหมด

ขอบเขตการประเมิน :
• ร่างกฎหมายที่ส่งให้สำนักงานฯ ดำเนินการ โดยเป็นเรื่องที่รับเข้ามาในช่วงวันที่ 1 ต.ค. 64 – 31 ก.ค. 65
• การพิจารณาของสำนักงานฯ ใช้มาตรฐานระยะเวลาดำเนินการเดียวกับการตรวจพิจารณาร่างกฎหมาย
• พิจารณาแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย. 65

เงื่อนไข :
หากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หน่วยงานไม่ส่งร่างกฎหมายให้สำนักงานฯ ดำเนินการ จะไม่มีผลการดำเนินงานในตัวชี้วัดนี้ ทำให้ไม่สามารถประเมินผลได้ โดยสำนักงานฯ จะนำค่าน้ำหนักตัวชี้วัดนี้ไปกระจายเป็นค่าน้ำหนักในตัวชี้วัดอื่น ๆ ของสำนักงานฯ ในสัดส่วนที่เท่ากัน

วิธีการเก็บข้อมูล : เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการ และระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล : ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สูตรการคำนวน :  จำนวนร่างกฎหมายที่ดำเนินการทบทวน แก้ไข ปรับปรุงฯ แล้วเสร็จ x 100 / จำนวนร่างกฎหมายที่กำหนดดำเนินการทบทน แก้ไข ปรับปรุงฯ ทั้งหมด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของกฎหมายที่ได้รับการทบทวนแก้ไข ปรับปรุง และ/หรือยกเลิกให้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ 0.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

1. เป็นตัวชี้วัดเพื่อผลักดันเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านกฎหมาย รวมทั้งผลักดันการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงานในการพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศตามแผนการปฏิรูปประเทศ และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง

2. ร่างเอกสารงบประมาณ ปี 2565 ของสำนักงบประมาณ กำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดร่างกฎหมายตามแผนการปฏิรูปประเทศแล้วเสร็จ ของจำนวนกฎหมายที่ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ร้อยละ 80

ขอบเขตการประเมิน :
• ร่างกฎหมายที่ส่งให้สำนักงานฯ ดำเนินการ โดยเป็นเรื่องที่รับเข้ามาในช่วงวันที่ 1 ต.ค. 64 – 31 ก.ค. 65
• การพิจารณาของสำนักงานฯ ใช้มาตรฐานระยะเวลาดำเนินการเดียวกับการตรวจพิจารณาร่างกฎหมาย
• พิจารณาแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย. 65

เงื่อนไข :
หากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หน่วยงานไม่ส่งร่างกฎหมายให้สำนักงานฯ ดำเนินการ จะไม่มีผลการดำเนินงานในตัวชี้วัดนี้ ทำให้ไม่สามารถประเมินผลได้ โดยสำนักงานฯ จะนำค่าน้ำหนักตัวชี้วัดนี้ไปกระจายเป็นค่าน้ำหนักในตัวชี้วัดอื่น ๆ ของสำนักงานฯ ในสัดส่วนที่เท่ากัน

วิธีการเก็บข้อมูล : เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการ และระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล : ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สูตรการคำนวน : จำนวนร่างกฎหมายตามแผนการปฏิรูปประเทศแล้วเสร็จ x 100 / จำนวนร่างกฎหมายตามแผนการปฏิรูปประเทศทั้งหมด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จในการตรวจพิจารณากฎหมายตามแผนการปฏิรูปประเทศแล้วเสร็จ 0.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

นิยาม :
การรับฟังความคิดเห็น หมายถึง การรับฟังความคิดเห็นตามหลักการที่กำหนดในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ โดยดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่จะเสนอร่างกฎหมายนำหลักการหรือประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายไปรับฟังความคิดเห็นตามวิธีการที่กำหนดและให้นำผลการรับฟังความคิดเห็นไปประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบและการจัดทำร่างกฎหมายในการเสนอร่างกฎหมายหรือหลักการของร่างกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรี ต้องเสนอเอกสารสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นเสนอต่อคณะรัฐมนตรีด้วย ทั้งนี้ ในชั้นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะได้นำร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานจัดส่งมาจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นหรือจะแจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการก็ได้

ขอบเขตการประเมิน :
• สำนักงานฯ จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในร่างกฎหมาย (ระดับพระราชบัญญัติ) ที่ได้รับจากคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงาน
• นับผลการดำเนินการเฉพาะร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายเอง เช่น การดำเนินการรับฟังความคิดเห็นผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของสำนักงานฯ (Website) เป็นต้น
• นับเรื่องเข้า ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565
• ผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565

วิธีการเก็บข้อมูล :
การจัดเก็บข้อมูลจากแบบรายงานประจำเดือน ระบบโปรแกรมของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

แหล่งที่มาของข้อมูล :
เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือช่องทางการเผยแพร่อื่น

สูตรการคำนวน :  
จำนวนร่างพระราชบัญญัติที่ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จ x 100 / จำนวนร่างพระราชบัญญัติที่กำหนดรับฟังความคิดเห็นทั้งหมด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของกฎหมายที่ได้มีการรับฟังความคิดเห็น 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำนิยาม
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับ ต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas ที่กำหนด (จำนวน 10 ด้าน) อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่สอดคล้องกับการให้บริการ e-Service ของหน่วยงาน หรือภารกิจด้านนโยบาย ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม  ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

10 Focus Areas
1) ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม SME
2) ด้านการเกษตร
3) ด้านท่องเที่ยว
4) ด้านการมีรายได้และการมีงานทำ
5) ด้านความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน
6) ด้านสุขภาพและการสาธารณสุข
7) ด้านการศึกษา
8) ด้านสิ่งแวดล้อม
9) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ
10) ด้านความมั่นคง

เงื่อนไข
1. หน่วยงานที่มี e-Service ให้เลือก Dataset ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการที่หน่วยงานรับผิดชอบ
2. หน่วยงานด้านนโยบาย เลือก Dataset ที่สนันสนุนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ แผนการปฏิรูปประเทศ Agenda สำคัญ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นได้
3. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการ ในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
4. หน่วยงานเดิมที่มีการดำเนินการตัวชี้วัดนีในปี 2564 ให้คัดเลือกชุดข้อมูลใหม่มาดำเนินการในปี 2565 โดยสามารถนำชุดข้อมูลของปี 2564 มาต่อยอดทำให้ครบ ได้ใน Focus Area ที่คัดเลือก

เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50) = มีรายชื่อชุดข้อมูล (Data Set) ที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Area
เป้าหมายมาตรฐาน (75) = มีคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล (15 คะแนน) / มีระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (10 คะแนน)
เป้าหมายขั้นสูง (100) = นำขึ้นชุดข้อมูล metadata และระบุแหล่งข้อมูล สำหรับชุดข้อมูลที่ถูกจัดในหมวดหมู่สาธารณะ ร้อยละ 100 ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมดบนระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร.กำหนด (20 คะแนน) / นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นภายใต้ของ Focus area อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)

หมายเหตุ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จะตรวจเอกสารหลักฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และสรุปผลคะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) เพื่อเป็นผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดนี้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 92.33 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน
  • พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยมีเป้าหมายให้ส่วนราชการมีคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดีขึ้นจากผลคะแนนในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  • พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 442.06 (คะแนน)