รายงานผลการประเมิน

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติประเด็นด้านความมั่นคง (แผนระดับ 1) แผนแม่บทฯ ด้านความมั่นคง นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 5

  การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน (แผนระดับ 2) โดยการขับเคลื่อนแผนงานต่าง ๆ อำนวยการ ประสานงาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

• แผนความมั่นคงเฉพาะเรื่อง หมายถึง แผนด้านความมั่นคงที่รองรับประเด็นภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง (แผนระดับ 3)

  ที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับผิดชอบจัดทำ/ขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ ทั้งนี้ ในห้วงเวลาของแผนความมั่นคงเฉพาะเรื่องที่มีใช้อยู่ในขณะนี้ ยังคงมีผลใช้บังคับไปพลางก่อนในห้วงปี พ.ศ. 2562 –  

  2565 จนกว่าจะมีการปรับปรุงใหม่หรือยกเลิกเป็นกรณีไป ตามมติสภาความมั่นคงแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2563

• วัดผลการดำเนินงานในส่วนที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับผิดชอบในระดับนโยบาย ทั้งงานอำนวยการ ประสานงาน และขับเคลื่อนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปสู่การปฏิบัติ จำนวน 4 แผน ดังนี้

1.  แผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2564)

•ระดับความสำเร็จของการบูรณาการการฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ (C-MEX) (กตป.)

ค่าเป้าหมาย พ.ศ. 2565 : มีผลการฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่คณะกรรมการเตรียมพร้อมแห่งชาติ รับทราบ

ผลผลิต : รายงานผลการฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ (C-MEX) ที่ผ่านคณะกรรมการเตรียมพร้อมแห่งชาติ

2. แผนการพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ (พ.ศ. 2561 - 2564)           

•ความสำเร็จในการจัดทำระบบการรายงานผลอิเล็กทรอนิกส์ (รายงานผลตามแผนการพัฒนาพื้นที่ฯ) (กตป.)

ค่าเป้าหมาย พ.ศ. 2565 : มีผลการพัฒนาปรับปรุงและการเข้าใช้ระบบการรายงานผลอิเล็กทรอนิกส์ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ที่ผู้บริหาร สมช. รับทราบ

ผลผลิต: รายงานผลการพัฒนาปรับปรุงและการเข้าใช้ระบบการรายงานผลอิเล็กทรอนิกส์ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

3. แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ. 2558 -2564)

•ความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการสำคัญ (Flagship Project) ด้านความมั่นคงทางทะเล (กมท.)

ค่าเป้าหมาย พ.ศ. 2565 : มีผลการประเมินการดำเนินงานตามโครงการสำคัญ (Flagship Project) ด้านความมั่นคงทางทะเลที่ผ่านคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (นปท.) เพื่อทราบ จำนวน 4 โครงการ

ผลผลิต: รายงานผลการประเมินการดำเนินงานตามโครงการสำคัญ (Flagship Project) ด้านความมั่นคงทางทะเล

4. แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565)

•ความสำเร็จในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) (กภน.)

ค่าเป้าหมาย พ.ศ. 2565 : มีผลการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ที่ผ่านคณะกรรมการบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง และสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อทราบ

ผลผลิต: รายงานผลการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของการขับเคลื่อนแผนความมั่นคงเฉพาะเรื่อง 87.50 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำอธิบาย

  • จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) หมายถึง พื้นที่ใน จ.นราธิวาส จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา (อ.จะนะ อ.เทพา อ.นาทวี และ อ.สะบ้าย้อย)
  • เหตุการณ์ความรุนแรง หมายถึง เหตุการณ์การก่อเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการกระทำอันเกิดจากกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข ทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ และรวมถึงการกระทำที่กระทบต่ออธิปไตยแห่งดินแดน และอำนาจรัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยไม่นับรวมเหตุก่อกวน เหตุการณ์อันเกิดจากการกระทำของฝ่ายเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผลการปฏิบัติการ การก่ออาชญากรรม เหตุการณ์ที่เป็นคดีอาญา และการกระทำเชิงสัญลักษณ์
  • ผู้ก่อเหตุรุนแรง หมายถึง บุคคล หรือกลุ่มบุคคล ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

วิธีการเก็บข้อมูล และแหล่งข้อมูล

  • ใช้ข้อมูลจำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงฯ จากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศข่าวกรอง (SMIC) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 สน.) ในการประเมินผล
  • เป้าหมายของแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา จชต. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กำหนดเป้าหมายจำนวนเหตุรุนแรงลดลง ร้อยละ 50 เทียบกับปี 2560 เท่ากับ 83 เหตุการณ์
  • ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2563 เท่ากับ 54 เหตุการณ์ และ 2564 ณ เดือนสิงหาคม เท่ากับ 83 เหตุการณ์ เนื่องจากการใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 อย่างเข้มงวด จึงส่งผลเชิงบวกต่อจำนวนสถิตเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดค่าความแปรปรวนในทางสถิติมาก จึงไม่สามารถสรุปได้ว่า ผลดังกล่าวเกิดจากการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของภาครัฐได้อย่างแท้จริง  ดังนั้น จึงได้กำหนดเกณฑ์การประเมิน โดยพิจารณาตามห้วงสถานการณ์ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 โดยพิจารณาผลการดำเนินงาน 3 ปีย้อนหลัง (2562 - 2564) เป้าหมายของแผนงานบูรณาการฯ รวมทั้ง แนวโน้มสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค มากำหนดเป็นค่าเป้าหมาย
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนเหตุการณ์ความรุนแรง 108.00 (เหตุการณ์)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• เป็นโครงการสำคัญภายใต้แนวทางยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้าย (พ.ศ. 2562 – 2565) ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563) ในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ (Non traditional Security) โดยมุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้ให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักถึงปัญหาแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง และหันมาร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในการสร้างพื้นที่หลากหลายทางสังคมในการปฏิสังสรรค์ เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และรับมือกับการเผยแพร่แนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงอันเป็นปัจจัยสำคัญนำไปสู่ปัญหาการก่อการร้าย

• มุ่งเน้นการประเมินผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมที่วางแผนไว้ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางดำเนินงาน การประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมร่วมกับทุกภาคส่วน

•การดำเนินกิจกรรมตามโครงการร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ที่กำหนดไว้ได้อย่างครบถ้วน โดย “ความครบถ้วน” หมายถึง ส่วนราชการสามารถดำเนินการตามแผนของโครงการที่กำหนดไว้ได้ครบทุกกิจกรรม และบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนโครงการได้ครบถ้วนร้อยละ 100

พื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย

พื้นที่เป้าหมาย : กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

กลุ่มเป้าหมาย :  หน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (สตรีและเยาวชน)

ขั้นตอนการดำเนินการ

1. ประสานหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล

2. จัดประชุมหรือสัมมนาเพื่อระดมความเห็นร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการภาคประชาสังคม และภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. จัดทำโครงการ/กิจกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการภาคประชาสังคม และภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

4. ดำเนินตามโครงการ/กิจกรรม ที่กำหนดตามข้อ 3 ได้ร้อยละ 60

5. การดำเนินตามโครงการหรือกิจกรรมได้ร้อยละ 80 และมีรายงานสรุปผลการดำเนินการ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จัดทำ (ร่าง) กิจกรรมภายใต้โครงการสำคัญเสนอเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ/ผู้บริหาร สมช. เพื่อทราบ ผ่าน
ดำเนินกิจกรรมตามโครงการร่วมกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างครบถ้วน ผ่าน
จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการเสนอ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับงานด้านความมั่นคง เพื่อทราบ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•เป็นโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ 2565 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563)

•เป็นตัวชี้วัดที่ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย ซึ่งกำหนดเป้าหมายประเทศไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม คนในชาติสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี รวมทั้งได้รับการพัฒนาศักยภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สมช. จะดำเนินการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่เป็นเรื่องสำคัญและส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การมีข้อเสนอแนะหรือมาตรการเชิงนโยบายต่อแนวทางการดูแลทุกกลุ่มในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม รวมทั้ง มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อเสนอแนะหรือมาตรการไปจัดทำเป็นโครงการ/กิจกรรมรองรับแผนปฏิบัติการฯ เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่เป็นเรื่องสำคัญ และส่งผลเชิงบวกให้พื้นที่และกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อไป

•สมช. จัดตั้งกลไกรองรับเพื่อทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ รวมถึงให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะแนวทาง หรือมาตรการต่อการขจัดปัญหาอุปสรรคเร่งด่วน รวมทั้ง เงื่อนไขต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม และดำเนินการจัดทำรายงานการศึกษา วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ ปัญหาเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทยต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีร่างรายงานการศึกษา วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ ปัญหาเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม พร้อมข้อเสนอแนะแนวทาง ที่ผ่านเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ ผ่าน
มีรายงานการศึกษาฯ พร้อมข้อเสนอแนะแนวทาง ที่ผ่านคณะกรรมการร้อยกรองงานของสภาความมั่นคงแห่งชาติ และผ่านสภาความมั่นคงแห่งชาติเห็นชอบ ผ่าน
มีหน่วยงานนำข้อเสนอแนะแนวทางไปกำหนดโครงการหรือกิจกรรมรองรับ ที่สอดคล้องต่อการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน อย่างน้อย 1 โครงการ/กิจกรรม ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•แนวทางการขับเคลื่อนการบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง (พ.ศ. 2566 – 2570) เป็นแนวทางขับเคลื่อนการบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นด้านความมั่นคง และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 2 ที่ สมช. อยู่ระหว่างการจัดทำ เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางดำเนินงานในระยะที่ 2 ของห้วงเวลาตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 - 2567) โดยแนวทางฯ ดังกล่าว จะเริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป

•การร่างแนวทางการขับเคลื่อนการบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง (พ.ศ. 2566 – 2570) ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับสาระของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นด้านความมั่นคง และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำ โดยเมื่อทั้งสองแผนมีการกำหนดกลยุทธ์และแนวทางดำเนินงานที่ชัดเจนแล้ว สมช. จะได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านกลไกคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาทบทวนและจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนฯ ให้สอดรับกับแผนระดับที่ 2 ต่อไป

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีการทบทวนแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อน การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง เสนอรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมายเป็น CIO ของ สมช. เพื่อทราบ ผ่าน
มีร่างแนวทางการขับเคลื่อนการบูรณาการข้อมูลด้าน ความมั่นคง เสนอคณะกรรมการบูรณาการข้อมูลด้าน ความมั่นคง เห็นชอบ ผ่าน
มีแนวทางการขับเคลื่อนการบูรณาการข้อมูล ด้านความมั่นคง เสนอเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อทราบ ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำนิยาม
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับ ต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas ที่กำหนด (จำนวน 10 ด้าน) อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่สอดคล้องกับการให้บริการ e-Service ของหน่วยงาน หรือภารกิจด้านนโยบาย ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม  ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

10 Focus Areas
1) ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม SME
2) ด้านการเกษตร
3) ด้านท่องเที่ยว
4) ด้านการมีรายได้และการมีงานทำ
5) ด้านความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน
6) ด้านสุขภาพและการสาธารณสุข
7) ด้านการศึกษา
8) ด้านสิ่งแวดล้อม
9) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ
10) ด้านความมั่นคง

เงื่อนไข
1. หน่วยงานที่มี e-Service ให้เลือก Dataset ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการที่หน่วยงานรับผิดชอบ
2. หน่วยงานด้านนโยบาย เลือก Dataset ที่สนันสนุนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ แผนการปฏิรูปประเทศ Agenda สำคัญ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นได้
3. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการ ในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
4. หน่วยงานเดิมที่มีการดำเนินการตัวชี้วัดนีในปี 2564 ให้คัดเลือกชุดข้อมูลใหม่มาดำเนินการในปี 2565 โดยสามารถนำชุดข้อมูลของปี 2564 มาต่อยอดทำให้ครบ ได้ใน Focus Area ที่คัดเลือก

เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50) = มีรายชื่อชุดข้อมูล (Data Set) ที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Area
เป้าหมายมาตรฐาน (75) = มีคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล (15 คะแนน) / มีระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (10 คะแนน)
เป้าหมายขั้นสูง (100) = นำขึ้นชุดข้อมูล metadata และระบุแหล่งข้อมูล สำหรับชุดข้อมูลที่ถูกจัดในหมวดหมู่สาธารณะ ร้อยละ 100 ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมดบนระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร.กำหนด (20 คะแนน) / นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นภายใต้ของ Focus area อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)

หมายเหตุ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จะตรวจเอกสารหลักฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และสรุปผลคะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) เพื่อเป็นผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดนี้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน
  • พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยมีเป้าหมายให้ส่วนราชการมีคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดีขึ้นจากผลคะแนนในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  • พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 342.01 (คะแนน)