รายงานผลการประเมิน

สำนักงบประมาณ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

• นิยาม – การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการงบประมาณ เป็นการดำเนินการเพื่อให้การจัดการงบประมาณสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
                ในการจัดการงบประมาณ รองรับหน่วยรับงบประมาณที่เพิ่มขึ้น และประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• ขอบเขตการประเมิน – การดำเนินการของสำนักงบประมาณภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

• วิธีการเก็บข้อมูล – จากการรวบรวมผลการดำเนินงานและบันทึกเป็นเอกสารหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

• แหล่งที่มาของข้อมูล – สำนักงบประมาณ

• ขั้นตอนการดำเนินงานในปี 2565
     1. รวบรวมและรายงานผลการดำเนินงานเพิ่มประสิทธิภาพระบบ e-Budgeting ให้รองรับเทคโนโลยีปัจจุบัน  เปิดให้บริการหน่วยรับงบประมาณในการจัดทำคำขอและพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
     2. รวบรวมและรายงานผลการดำเนินงานการประกาศขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย
     3. รวบรวมและรายงานผลการดำเนินงานการติดตามและประเมินผลโครงการสำคัญ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
มีความสำเร็จของการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการงบประมาณ จำนวน 1 เรื่อง (1) ระบบสารสนเทศด้านการงบประมาณรองรับการให้บริการหน่วยรับงบประมาณและ สำนักงบประมาณ ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ไม่ต่ำกว่า 721 หน่วยงาน ผ่าน
มีความสำเร็จของการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการงบประมาณ เรื่อง (2) จำนวนประกาศขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย จำนวน 12 ฉบับ ผ่าน
มีความสำเร็จของการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการงบประมาณ เรื่อง (3) การติดตามและประเมินผลโครงการสำคัญ จำนวน 8 เรื่อง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 หมวด 7 การประเมินผลและการรายงาน กำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณจัดวางระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการวัดผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ โดยในระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้ประกอบด้วย การติดตามและประเมินผลก่อนการจัดสรรงบประมาณ ระหว่างการใช้จ่ายงบประมาณ และภายหลังการใช้จ่ายงบประมาณ
     
  • ความสำเร็จของการใช้จ่ายงบประมาณ  พิจารณาจากความสามารถในการใช้จ่ายเงินงบประมาณตามเป้าหมาย และหรือแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายรัฐบาล หากมีการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณระหว่างปี  จะนำยอดงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลงแล้วมาเป็นฐานในการคำนวณ ทั้งนี้ ไม่รวมเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพิ่มเติมระหว่างปีงบประมาณ
     
  • ข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณ  หมายรวมถึง  ข้อมูลการก่อหนี้และการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย
     
  • ร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายภาพรวม  พิจารณาจากความสามารถในการติดตามเร่งรัดให้หน่วยรับงบประมาณสามารถดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณภาพรวม   (ไม่รวมงบกลาง) ตามเป้าหมายและหรือแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายรัฐบาล 
     
  • ร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน พิจารณาจากความสามารถในการติดตามเร่งรัดให้หน่วยรับงบประมาณสามารถดำเนินการก่อหนี้และเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน (ไม่รวมงบกลาง) ได้ตามเป้าหมายและหรือแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายรัฐบาล
     
  • ระดับความสำเร็จของการติดตามผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของ อปท. ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณ
     - เป็นตัวชี้วัดที่ไม่นับเป็น Joint KPI  กับกรมบัญชีกลาง  โดยดำเนินการเฉพาะ อปท. ซึ่งเป็นหน่วยรับงบประมาณในปี 2565 จำนวน 301 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง และเทศบาลนคร (ทน.) เทศบาลเมือง (ทม.) รวม 225 แห่ง พิจารณาจากความสามารถในการติดตามเร่งรัดให้หน่วยรับงบประมาณสามารถดำเนินการเบิกจ่ายภายใต้เงินอุดหนุนทั่วไปและเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ  ซึ่งปัจจุบันข้อมูลที่ต้องเก็บรวบรวมจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ e-Budgeting  BBL GFMIS  e–GP
    -  การสร้างความรับรู้และความเข้าใจด้านการติดตามประเมินผล ได้แก่ การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการติดตามประเมินผลให้กับ อปท. เพื่อให้ทราบถึงวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ  โดยจัดทำรายงานผลการอบรมสร้างความรับรู้ฯ ให้กับหน่วยรับงบประมาณ (อปท.) 301 แห่ง
     
  • ขอบเขตการประเมิน : ข้อมูลผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 (ไม่รวมงบกลาง) จากระบบ GFMIS 

เงื่อนไข

  • ร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน และร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายภาพรวม ไม่รวมงบกลางรายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เนื่องจากงบประมาณดังกล่าว ไม่มีแผนงานโครงการรองรับไม่สามารถเร่งรัดการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินได้ โดยเป็นรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับใช้กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วน เช่น กรณีเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น
  • เนื่องจากในปี 2564 สถานการณ์ของประเทศเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 3 อย่างรุนแรง  จึงส่งผลต่อการใช้จ่ายงบประมาณที่จะไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ การกำหนดค่าเป้าหมายดังกล่าวอาจไม่สะท้อนผลการดำเนินงานตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎโดยเฉพาะการเบิกจ่ายงบประมาณที่หน่วยรับงบประมาณไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย การเบิกจ่ายมีความล่าช้าสาเหตุจากการประกาศ ศบค. ในการควบคุมพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงส่งผลให้เกิดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน/เครื่องจักรข้ามพื้นที่  โรงงานที่ต้องจัดส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ถูกปิดหรือถูกควบคุมเนื่องจากการติดเชื้อ COVID – 19 ตลอดจนกรรมการตรวจรับไม่สามารถเข้าตรวจรับงานในพื้นที่ก่อสร้างได้ เป็นต้น 

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 หมวด 7 การประเมินผลและการรายงาน กำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณจัดวางระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการวัดผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ โดยในระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้ประกอบด้วย การติดตามและประเมินผลก่อนการจัดสรรงบประมาณ ระหว่างการใช้จ่ายงบประมาณ และภายหลังการใช้จ่ายงบประมาณ
     
  • ความสำเร็จของการใช้จ่ายงบประมาณ  พิจารณาจากความสามารถในการใช้จ่ายเงินงบประมาณตามเป้าหมาย และหรือแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายรัฐบาล หากมีการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณระหว่างปี  จะนำยอดงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลงแล้วมาเป็นฐานในการคำนวณ ทั้งนี้ ไม่รวมเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพิ่มเติมระหว่างปีงบประมาณ
     
  • ข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณ  หมายรวมถึง  ข้อมูลการก่อหนี้และการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย
     
  • ร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายภาพรวม  พิจารณาจากความสามารถในการติดตามเร่งรัดให้หน่วยรับงบประมาณสามารถดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณภาพรวม   (ไม่รวมงบกลาง) ตามเป้าหมายและหรือแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายรัฐบาล 

เงื่อนไข

  • ร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน และร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายภาพรวม ไม่รวมงบกลางรายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เนื่องจากงบประมาณดังกล่าว ไม่มีแผนงานโครงการรองรับไม่สามารถเร่งรัดการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินได้ โดยเป็นรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับใช้กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วน เช่น กรณีเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น
  • เนื่องจากในปี 2564 สถานการณ์ของประเทศเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 3 อย่างรุนแรง  จึงส่งผลต่อการใช้จ่ายงบประมาณที่จะไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ การกำหนดค่าเป้าหมายดังกล่าวอาจไม่สะท้อนผลการดำเนินงานตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎโดยเฉพาะการเบิกจ่ายงบประมาณที่หน่วยรับงบประมาณไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย การเบิกจ่ายมีความล่าช้าสาเหตุจากการประกาศ ศบค. ในการควบคุมพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงส่งผลให้เกิดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน/เครื่องจักรข้ามพื้นที่  โรงงานที่ต้องจัดส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ถูกปิดหรือถูกควบคุมเนื่องจากการติดเชื้อ COVID – 19 ตลอดจนกรรมการตรวจรับไม่สามารถเข้าตรวจรับงานในพื้นที่ก่อสร้างได้ เป็นต้น 
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายภาพรวม 100.08 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 หมวด 7 การประเมินผลและการรายงาน กำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณจัดวางระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการวัดผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ โดยในระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้ประกอบด้วย การติดตามและประเมินผลก่อนการจัดสรรงบประมาณ ระหว่างการใช้จ่ายงบประมาณ และภายหลังการใช้จ่ายงบประมาณ
     
  • ความสำเร็จของการใช้จ่ายงบประมาณ  พิจารณาจากความสามารถในการใช้จ่ายเงินงบประมาณตามเป้าหมาย และหรือแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายรัฐบาล หากมีการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณระหว่างปี  จะนำยอดงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลงแล้วมาเป็นฐานในการคำนวณ ทั้งนี้ ไม่รวมเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพิ่มเติมระหว่างปีงบประมาณ
     
  • ข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณ  หมายรวมถึง  ข้อมูลการก่อหนี้และการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย
     
  • ร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน พิจารณาจากความสามารถในการติดตามเร่งรัดให้หน่วยรับงบประมาณสามารถดำเนินการก่อหนี้และเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน (ไม่รวมงบกลาง) ได้ตามเป้าหมายและหรือแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายรัฐบาล

เงื่อนไข

  • ร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน และร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายภาพรวม ไม่รวมงบกลางรายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เนื่องจากงบประมาณดังกล่าว ไม่มีแผนงานโครงการรองรับไม่สามารถเร่งรัดการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินได้ โดยเป็นรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับใช้กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วน เช่น กรณีเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น
  • เนื่องจากในปี 2564 สถานการณ์ของประเทศเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 3 อย่างรุนแรง  จึงส่งผลต่อการใช้จ่ายงบประมาณที่จะไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ การกำหนดค่าเป้าหมายดังกล่าวอาจไม่สะท้อนผลการดำเนินงานตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎโดยเฉพาะการเบิกจ่ายงบประมาณที่หน่วยรับงบประมาณไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย การเบิกจ่ายมีความล่าช้าสาเหตุจากการประกาศ ศบค. ในการควบคุมพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงส่งผลให้เกิดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน/เครื่องจักรข้ามพื้นที่  โรงงานที่ต้องจัดส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ถูกปิดหรือถูกควบคุมเนื่องจากการติดเชื้อ COVID – 19 ตลอดจนกรรมการตรวจรับไม่สามารถเข้าตรวจรับงานในพื้นที่ก่อสร้างได้ เป็นต้น 
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน 99.39 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

ระดับความสำเร็จของการติดตามผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของ อปท. ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณ

  • เป็นตัวชี้วัดที่ไม่นับเป็น Joint KPI  กับกรมบัญชีกลาง  โดยดำเนินการเฉพาะ อปท. ซึ่งเป็นหน่วยรับงบประมาณในปี 2565 จำนวน 301 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง และเทศบาลนคร (ทน.) เทศบาลเมือง (ทม.) รวม 225 แห่ง พิจารณาจากความสามารถในการติดตามเร่งรัดให้หน่วยรับงบประมาณสามารถดำเนินการเบิกจ่ายภายใต้เงินอุดหนุนทั่วไปและเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ  ซึ่งปัจจุบันข้อมูลที่ต้องเก็บรวบรวมจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ e-Budgeting  BBL GFMIS  e–GP
  • การสร้างความรับรู้และความเข้าใจด้านการติดตามประเมินผล ได้แก่ การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการติดตามประเมินผลให้กับ อปท. เพื่อให้ทราบถึงวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ  โดยจัดทำรายงานผลการอบรมสร้างความรับรู้ฯ ให้กับหน่วยรับงบประมาณ (อปท.) 301 แห่ง

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  • เป้าหมายขั้นต้น : 
    - สำนักงบประมาณสร้างการรับรู้และ    ความเข้าใจด้านการติดตามและประเมินผลให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหน่วยรับงบประมาณ ในปีงบประมาณ   พ.ศ. 2565 จำนวน 301 แห่ง โดยครอบคลุมระบบติดตามและประเมินผลตามนัยมาตรา 46 ของ พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
    - เก็บรวบรวมผลการใช้จ่ายงบประมาณจากระบบ GFMIS ของกรมบัญชีกลาง
  • เป้าหมายมาตรฐาน :
    - ดำเนินการตามค่าเป้าหมายขั้นต้น
    - เก็บรวบรวมข้อมูล ผลการดำเนินงานจากระบบ BBL ของสำนักงบประมาณ​​​​
    - วิเคราะห์ข้อมูลผลการใช้จ่าย เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อสิ้นไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3
  • เป้าหมายขั้นสูง :
    - ดำเนินการตามค่าเป้าหมายขั้นมาตรฐาน
    - เก็บรวบรวมข้อมูล สถานะการจัดซื้อจัดจ้างจากระบบ e-GP ของกรมบัญชีกลาง และ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจำแนกสถานะรายจ่ายลงทุน ของ อปท.
    - เก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล ผลสัมฤทธิ์ของ อปท. ตามระบบการติดตามและประเมินผลของสำนักงบประมาณ
    - วิเคราะห์ข้อมูลผลการใช้จ่าย เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อสิ้นปีงบประมาณ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- อปท. ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณทั่วประเทศ จำนวน 301 แห่ง
- สำนักงบประมาณ
- กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

เงื่อนไข

  • ระดับความสำเร็จของการติดตามผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของ อปท. ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณ  มีกระบวนการประมวลผลข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูลด้วยกัน ประกอบด้วย ระบบ e - Budgeting และระบบ BBL ของสำนักงบประมาณ ระบบ GFMIS และระบบ e-GP ของกรมบัญชีกลาง ประกอบกับเป็นปีแรกที่ท้องถิ่นเป็นหน่วยรับงบประมาณตรงที่ต้องสร้างการรับรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรของท้องถิ่นให้มึความเข้าใจตรงกันทั้ง 301 หน่วย  จึงได้กำหนดค่าเป้าหมายตามกระบวนงานหรือขั้นตอนการนำข้อมูลมาใช้ในการประมวลและวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเพื่อแสดงถึงประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ

  • การดำเนินการในส่วนของ อปท. ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณในปี 2565  เป็นการติดตามจากระบบ e – Budgeting  BBL และ e - Plan ในส่วนของงบประมาณของ อปท. ที่ไม่ใช่งบประมาณของส่วนราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคดำเนินการ  

  • ทั้งนี้  การติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของ อปท. มีข้อจำกัด ดังนี้
      1)  เงินอุดหนุนทั่วไปที่ถือเป็นรายได้ของ อปท. การเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ100 
      2)  เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ หากมีเงินเหลือจ่ายจะถือว่าเป็นรายได้ของ อปท. เช่นกัน 

  • การประเมินในปี 2565 เป็นการเตรียมความพร้อม อปท. ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณ เมื่อระบบ New e – Budgeting ได้พัฒนาอย่างสมบูรณ์ในปี 2566  และการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายงบประมาณของ อปท  จึงจะสามารถติดตามการใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างครอบคลุม ครบถ้วน สมบูรณ์ และรวดเร็วมากขึ้น เพื่อประเมินความสำเร็จของการใช้จ่ายงบประมาณของ อปท. ในปี 2566 ต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
- การสร้างการรับรู้และความเข้าใจด้านการติดตามและประเมินผลให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหน่วยรับ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 301 แห่ง โดยครอบคลุมระบบติดตามและประเมินผลตามนัยมาตรา 46 ของ พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 และ จัดทำรายงานการวิเคราะห์โดยรวบรวมผลการดำเนินงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณจากระบบ GFMIS ผ่าน
- จัดทำรายงานการวิเคราะห์โดยรวบรวมผลการดำเนินงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณจาก 3 ระบบ เสนอผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผ่าน
- จัดทำรายงานการวิเคราะห์ โดยรวบรวมผลการดำเนินงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ เสนอคณะรัฐมนตรี ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่

1. ความสำเร็จของการออกแบบแนวคิดระบบการจัดการงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New e-Budgeting)

2. ร้อยละความพึงพอใจของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อการจัดทำและบริหารงบประมาณ

รายละเอียดตัวชี้วัด

 • นิยาม : วัดความสำเร็จของการดำเนินการศึกษาวิเคราะห์และออกแบบแนวคิดระบบการจัดการงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ (New e-Budgeting) เพื่อเตรียมการสำหรับการพัฒนาระบบ New e-Budgeting

• ขอบเขตการประเมิน : ร้อยละความสำเร็จของขั้นตอนการดำเนินงานที่แล้วเสร็จ เปรียบเทียบกับขั้นตอนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ในแผนการดำเนินงานปี 2565

• แหล่งที่มาของข้อมูล : เอกสารประกอบการดำเนินงานโครงการ

• (ร่าง) แผนการดำเนินงานในปี 2565
     1. จัดทำแผนการบริหารคุณภาพโครงการ กรอบแนวคิด ทฤษฎี มาตรฐาน และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ ออกแบบ ระบบ New e-Budgeting
     2. จัดทำร่างขอบเขตของงาน (TOR)
     3. กำหนดกรอบของสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Future state of Enterprise Architecture)  ด้านการงบประมาณ
     4. จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบ และ  บริหารจัดการระบบ New e-Budgeting
     5. สรุปผลการวิเคราะห์และออกแบบแนวคิด ระบบ New e-Budgeting
     6. จัดทำขอบเขตของงาน (TOR) ฉบับสมบูรณ์
     7. จัดอบรมและสัมมนาแก่ผู้เกี่ยวข้อง
     8. จัดทำแผนการดำเนินงานสำหรับการพัฒนาระบบ  New e-Budgeting

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของการออกแบบแนวคิดระบบการจัดการงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New e-Budgeting) 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• ระบบสารสนเทศด้านการงบประมาณหลัก ประกอบด้วย 1) ระบบ e-Budgeting ใช้จัดทำคำขอ และพิจารณางบประมาณ 2) ระบบ BB EvMIS ใช้จัดทำแผน/ผลการปฏิบัติงาน และการใช้จ่ายงบประมาณ และ 3) ระบบ BBL ใช้จัดทำคำขอ และแผน/ผลฯ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระบบสนับสนุนอื่น ๆ

• มีระบบสารสนเทศด้านการงบประมาณ ใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการจัดทำ และบริหารงบประมาณ ได้อย่างถูกต้อง ทันตามกำหนดเวลา

• มีแผนการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศด้านการงบประมาณ เพื่อรองรับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

• มีการเชื่อมต่อข้อมูล พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณและผลการใช้จ่ายงบประมาณ กับระบบ GFMIS

• ขอบเขตการประเมิน : วัดความพึงพอใจจากผู้ใช้งานระบบ e-Budgeting ระบบ BB EvMIS และระบบ BBL

• ขั้นตอนการดำเนินงานในปี 2565
     1. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบ e-Budgeting ให้รองรับเทคโนโลยีปัจจุบัน เปิดให้บริการหน่วยรับงบประมาณในการจัดทำคำขอและพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
     2. โครงการศึกษาวิเคราะห์ออกแบบระบบ e-Budgeting (New e-Bud)
     3. ประมวลรายงานการบริหารงบประมาณและผลการใช้จ่ายงบประมาณจากระบบ GFMIS รายสัปดาห์และรายเดือน

• เงื่อนไข
     - ผู้ตอบแบบสอบถามต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายทุกระบบ  (e-Budgeting, BB EvMIS, BBL) หากดำเนินการไม่ครบถ้วน ถือว่าไม่ผ่านตัวชี้วัดนี้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความพึงพอใจของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อการจัดทำและบริหารงบประมาณ 84.92 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• นิยาม : การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดทำ งปม. ของ อปท. โดยการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำคำขอ การจัดทำ การอนุมัติ การจัดสรร การบริหาร และการติดตามประเมินผล งปม. ของ อปท. ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2566  จำนวน 2,548 แห่ง (อบจ./ทม./ทน./ทต.) ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเกิดผลสัมฤทธิ์และสามารถจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติและการบูรณาการในมิติพื้นที่ ได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ

• คู่มือมาตฐานการจัดการงบประมาณ : ประกอบด้วย คู่มือมาตรฐานฯ เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ด้านการงบประมาณ และการใช้งานระบบสารสนเทศสำหรับผู้ใช้งาน

• ช่องทางการสร้างความรู้ความเข้าใจ : การประชุม, สื่อเผยแพร่บนเว็บไซต์สำนักงบประมาณ (www.bb.go.th), การเรียนรู้ด้วยตนเอง e-Learning, ระบบจำลอง BBL Train, Chat Bot, Call Center

• การพัฒนาระบบ IT : การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดทำงบประมาณของ อปท. (BBL) ให้เป็นเครื่องมือในการบันทึกข้อมูลคำขอ งปม.และจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินของ อปท. และสามารถรองรับปริมาณหน่วยรับงบประมาณที่เพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2566 จำนวน 2,548 แห่ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• ขอบเขตการประเมิน : การดำเนินการของสำนักงบประมาณภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

• วิธีการเก็บข้อมูล : จากการรวบรวมผลการดำเนินงาน  คู่มือมาตรฐานฯ  และบันทึกเป็นเอกสารหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

• แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงบประมาณ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
- มีความสำเร็จในการพัฒนาและจัดทำคู่มือมาตรฐานการจัดการงบประมาณให้แก่ อปท.ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณ ผ่าน
- มีความสำเร็จของช่องทางการสร้างความรู้ความเข้าใจและให้คำปรึกษาแนะนำที่หลากหลายแก่ อปท. ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณ จำนวน 3 (ช่องทาง)
- มีความสำเร็จของการพัฒนาระบบ IT รองรับกระบวนการจัดการงบประมาณของ อปท. ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

• ความสำเร็จของการติดตามประเมินผลพิจารณาจากผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณภายใต้ประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 23 ประเด็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยจะจัดทำรายงานผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณโดยเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ที่ครอบคลุมเป้าหมายตามประเด็นแผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 23 ประเด็น ภายใน 90 วันหลังสิ้นปีงบประมาณ เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี

• ทั้งนี้ ขอบเขตการประเมินจะครอบคลุมผลการดำเนินงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณจำแนกตามประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ  โดยเก็บข้อมูลจากแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี (สงป.301) จากระบบ EvMIS และระบบ e-Budgeting ของสำนักงบประมาณ และระบบ GFMIS ของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

• สูตรการคำนวณเกณฑ์การประเมิน
     ร้อยละความสำเร็จในการติดตามและประเมินผลฯ  = จำนวนประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่มีการรายงานผลฯ / จำนวนแผนแม่บทฯ ทั้งหมด 23 ประเด็น   

• แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 23 ประเด็น  ได้แก่

   1. ความมั่นคง
   2. การต่างประเทศ
   3. การเกษตร
   4. อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
   5. การท่องเที่ยว
   6. พื้นที่เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ
   7. โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล
   8. ผู้ประกอบการและวิสาหกิจ
   9. เขตเศรษฐกิจพิเศษ
   10. การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม
   11. ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
   12. การพัฒนาการเรียนรู้

13. การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี
14. ศักยภาพการกีฬา
15. พลังทางสังคม
16. เศรษฐกิจฐานราก
17. ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม
18. การเติบโตอย่างยั่งยืน
19. การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
20. การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ
21. การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
22. กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
23. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
 

ขั้นตอนการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

1. การติดตามและประเมินผลก่อนการจัดสรรงบประมาณ
      1.1 สำนักงบประมาณ โดยกองประเมินผล 1 ทบทวนงบประมาณร่วมกับหน่วยรับงบประมาณในระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ในช่วงเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม ของทุกปี ก่อนที่หน่วยรับงบประมาณจะส่งคำของบประมาณประจำปีในช่วงเดือนมกราคม โดยเน้นให้กำหนดผลสัมฤทธิ์กระทรวงและเป้าหมายการให้บริการกระทรวงที่ระบุถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับกลุ่มเป้าหมาย โดยควรสอดคล้องกับเป้าหมายตามประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเป้าหมายแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งหน่วยงานเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562  เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ ซึ่งแบ่งหน่วยงานเจ้าภาพในระดับ จ1 จ2 และจ3
      1.2 สำนักงบประมาณ โดยกองประเมินผล 1 ร่วมกับหน่วยรับงบประมาณในระดับกระทรวง จัดทำแผนผังความเชื่อมโยงเป้าหมาย ตัวชี้วัด จากยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ  แผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ผลสัมฤทธิ์กระทรวง ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์กระทรวง และเป้าหมายการให้บริการกระทรวง ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายการให้บริการกระทรวง และหน่วยงานรับผิดชอบในระดับกรมหรือเทียบเท่า ตามลำดับ

2. การติดตามและประเมินผลระหว่างการใช้จ่ายงบประมาณ
      
สำนักงบประมาณ โดยกองประเมินผล 1 ติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ และเป้าหมายการให้บริการกระทรวง ที่ครอบคลุมเป้าหมาย แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 23 ประเด็น เป็นรายไตรมาส โดยวิเคราะห์ข้อมูลความเชื่อมโยงงบประมาณจากระบบ e-Budgeting ของ สำนักงบประมาณ  ผ่านยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี และโครงสร้างแผนงานของสำนักงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และตัวชี้วัดของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยใช้ผลการดำเนินงานจากระบบ BB EvMIS ของสำนักงบประมาณ และผลการเบิกจ่ายงบประมาณจากระบบ GFMIS ของกรมบัญชีกลาง

3. การติดตามและประเมินผลภายหลังจากการใช้จ่ายงบประมาณ
      สำนักงบประมาณโดยกองประเมินผล 1 จัดทำรายงานผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณโดยเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. .... ที่ครอบคลุมเป้าหมายตามประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 23 ประเด็น ภายใน 90 วันหลังสิ้นปีงบประมาณ เพื่อกราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรี พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จของการติดตามประเมินผลการพัฒนาประเทศตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

• นิยาม : แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม โดยมีรายละเอียดครบถ้วนตามที่สำนักงบประมาณกำหนด

• ขอบเขตการประเมิน : 
1. การดำเนินการของสำนักงบประมาณภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
2. ดำเนินการทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด จำนวน 94 แห่ง

• รายละเอียด/เอกสารที่กำหนด : เช่น ตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์ ค่าใช้จ่าย ระยะเวลาดำเนินการ ความพร้อมของโครงการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ เป็นต้น 

• วิธีการเก็บข้อมูล : รวบรวมผลการดำเนินงาน รายงานการประชุม และบันทึกเป็นเอกสารหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

• แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

• ขั้นตอนการดำเนินงานในปี 2565
    1. สำนักงานงบประมาณเขตมีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำ/ปรึกษาในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
    2. มีแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ระยะ 5 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
    3. การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ผ่านความเห็นชอบของ หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด
    4. การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง (เช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาการท่องเที่ยว)
    5. การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชน
    6. โครงการในแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ที่นำมาจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณ มีเอกสารครบถ้วนตามที่สำนักงบประมาณกำหนด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละ 100 ของจำนวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ดำเนินการขั้นตอนที่ 1-2 ผ่าน
ร้อยละ 80 ของจำนวน แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ดำเนินการขั้นตอนที่ 1-4 ผ่าน
ร้อยละ 60 ของจำนวน แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดดำเนินการครบถ้วนทั้ง 6 ขั้นตอน ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

• นิยาม –การปรับกระบวนทำงานของระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงบประมาณให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564

• ขอบเขตการประเมิน – การดำเนินการของสำนักงบประมาณ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

• วิธีการเก็บข้อมูล - การรวบรวมผลการดำเนินงานและบันทึกเป็นเอกสารหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

• แหล่งที่มาของข้อมูล – ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงบประมาณ

• ขั้นตอนการดำเนินงานในปี 2565
     1. ดำเนินการโอนย้ายข้อมูลจาก ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เดิม ไปยังระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ใหม่
     2. ดำเนินการอบรมและทดลองใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ที่พัฒนาบน Cloud Technology
​​​​​​​     3. นำระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ใหม่มาใช้งาน
​​​​​​​​​​​​​​     4. สำนักงบประมาณกำหนดนโยบายให้ส่งหนังสือถึงตัวบุคคล

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
สามารถดำเนินการโอนย้ายข้อมูล (Migrate) จากระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เดิมไประบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ตามแผนการดำเนินงานได้ ผ่าน
สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยปรับกระบวนการทำงานให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่าน
สามารถรับส่งงานได้ถึงระดับบุคคลแบบไร้รอยต่อเต็มกระบวนการ ได้อย่างน้อย 4 กอง/ศูนย์/สถาบัน/กลุ่ม ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน
  • พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยมีเป้าหมายให้ส่วนราชการมีคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดีขึ้นจากผลคะแนนในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  • พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 461.01 (คะแนน)