รายงานผลการประเมิน

สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นตัวชี้วัดที่ช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง โดยการติดตาม แจ้งเตือน ประเมินสถานการณ์ ระงับยับยั้ง ป้องกันและแก้ไขปัญหา และรับมือกับภัยคุกคามที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เสริมสร้างผลประโยชน์ของชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน การพัฒนาระบบงานด้านการข่าวที่มีประสิทธิภาพ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ การข่าวกรองและการประเมินสถานการณ์ด้านความมั่นคง

นิยาม :  “รายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง” หมายถึง

        1)  รายงานข่าวกรองด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ที่ให้ข้อพิจารณา นโยบาย มาตรการ ข้อเสนอแนะ ที่เสนอต่อผู้บริหารระดับกำหนดนโยบาย

        2)  ผู้บริหารระดับกำหนดนโยบายใช้ประโยชน์จากรายงานข่าวกรอง ด้านความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคม ที่ให้ข้อพิจารณา คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ โดยการสั่งการ/มอบหมาย ผู้รับผิดชอบ หน่วยรับผิดชอบดำเนินการ

             แก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง

       โดยจำแนกประเภทการใช้ประโยชน์จากรายงานข่าวกรอง ดังนี้

            (1)  นำไปประกอบการตัดสินใจสั่งการเชิงนโยบาย

            (2)  นำไปกำหนดทิศทางหรือนโยบายของรัฐบาล นำไปจัดทำแผนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

            (3)  นำไปประกอบการตัดสินใจปฏิบัติงานในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน

            (4)  ใช้เป็นข้อมูลสำคัญที่มีส่วนช่วยลดความรุนแรงของเหตุการณ์/สถานการณ์ความไม่สงบ

ขอบเขตการประเมินผล :  ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ข่าวต่อรายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ โดยการจัดเก็บผลการตอบแบบสอบถามผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ติดตามประเมินผลรอบ 12 เดือน

                                     และการใช้ข้อมูล feedback อาทิ ข้อสั่งการของนรม./รอง นรม.ด้านความมั่นคง

ผู้ใช้ข่าว หมายถึง ผู้ใช้ข่าวระดับนโยบาย และหัวหน้าหน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง จำนวนทั้งสิ้น 18 ท่าน โดยมีรายละเอียดดังนี้

             1)  ผู้ใช้ข่าวระดับนโยบาย จำนวน 4 ท่าน ได้แก่

      1.1   นายกรัฐมนตรี                                                                                   1.3   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รมว.มท.)

      1.2   รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ)                    1.4   เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (ลมช.)

     

2)  หัวหน้าหน่วยงานในประชาคมข่าวกรอง จำนวน 14 ท่าน ได้แก่

     2.1    กระทรวงกลาโหม 4 ท่าน คือ เจ้ากรมข่าวทหาร เจ้ากรมข่าวทหารบก เจ้ากรมข่าวทหารเรือ เจ้ากรมข่าวทหารอากาศ

     2.2    กระทรวงมหาดไทย (ปลัดฯ มท.)

     2.3    กระทรวงการต่างประเทศ (ปลัดฯ กต.)

     2.4    สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)

     2.5    กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (เลขาธิการ กอ.รมน.)

     2.6    สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (เลขาธิการ ป.ป.ง.)

     2.7    สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.)

     2.8    สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (เลขาธิการ สศช.)

     2.9    รองศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร (ทปษ.ด้านความมั่นคงของนายกรัฐมนตรี)

     2.10  พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล (รมช.กห.)

     2.11  พล.ต. ฐิตวัฒน์ เสถียรทิพย์ (ศปก.นรม.)

รายงานข่าวกรองตามประเด็นความมั่นคง ได้แก่

   1.   ข่าวกรองด้านความมั่นคงภายในประเทศ

   2.   ข่าวกรองเพื่อการป้องกันการบ่อนทำลายสถาบันหลัก

   3.   ข่าวกรองเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศรอบบ้านและตามแนวชายแดน

   4.   ข่าวกรองเพื่อป้องกัน ลดการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ

   5.   ข่าวกรองเพื่อการลดขีดความสามารถของกระบวนการก่อความไม่สงบและสนับสนุนการพัฒนาในพื้นที่ จชต.

   6.   ข่าวกรองเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงระหว่างประเทศ

   7.   รายงานข่าวกรองประเด็นอื่นๆ อาทิ รายงานสรุปสถานการณ์ตามห้วงเวลา/เหตุการณ์เฉพาะเพื่อเป็นข้อมูลด้านความมั่นคง

การสำรวจความพึงพอใจ

       การสำรวจความพึงพอใจ ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มผู้ใช้ข่าวจำนวนทั้งสิ้น 18 ท่าน โดยแบ่งเป็นผู้ใช้ข่าวระดับนโยบาย

จำนวน 4 ท่าน หัวหน้าหน่วยงานประชาคมข่าวกรอง จำนวน 14 ท่าน

      ทั้งนี้ การสอบถามในประเด็นความมั่นคงต่าง ๆ ทั้ง 7 ประเด็น กำหนดข้อคำถามของแต่ละประเด็นความมั่นคงอย่างน้อย 4 ข้อ ดังนี้

1) ความถูกต้องของข่าวที่ส่งมอบ 2) ความครบถ้วนของข่าวที่ส่งมอบ 3) ความทันต่อสถานการณ์ของข่าวที่ส่งมอบ และ 4) การประสานงานร่วมกันของหน่วยงาน

      กำหนดระดับความพึงพอใจเป็น 5 ระดับคะแนน ได้แก่ พึงพอใจมากที่สุด (5) พึงพอใจมาก (4) พึงพอใจปานกลาง (3) พึงพอใจน้อย (2) ไม่พึงพอใจ (1)

โดยการวัดระดับความพึงพอใจมีคะแนน 5 4 3 2 1 ตามลำดับ วิธีการประมวลผลคะแนนความพึงพอใจ นำคะแนนความพึงพอใจจากแต่ละข้อของทุกประเด็น

ความมั่นคงทั้ง 7 ประเด็น นำมาเฉลี่ยเป็นค่าคะแนนความพึงพอใจรวม แปลงผลคะแนนเป็นค่าร้อยละ

 

      สูตรการคำนวณ :    ค่าคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามทุกคน X 100 / 5

   * ให้ดำเนินการสำรวจโดยกำหนดช่วงเวลาการสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลสรุปผลความพึงพอใจ ภายในเดือนกันยายน 2565

 

การคำนวณร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้ข่าวต่อรายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง

กำหนด N      คือ จำนวนผู้ใช้ข่าวที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด

                                

              Xi.     คือ คะแนนความพึงพอใจของผู้ใช้ข่าวคนที่ i
                        

              Xav คือ คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้ใช้ข่าวที่ตอบแบบสอบถาม
                    

โดย         Xav = 𝑿𝟏 + 𝑿𝟐 + … + 𝑿𝑵𝑵(X1 + X2 + … + XN)/N

ถ้า           P      คือ ร้อยละของคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย
                     

แล้ว        P = 𝑋𝑎𝑣5× 100(Xav/5)× 100

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้ข่าวต่อรายงานข่าวกรองที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง 95.31 (ร้อยละ)
แผนปรับปรุงหรือพัฒนาประสิทธิภาพด้านข่าวกรอง และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการยกระดับประสิทธิภาพการข่าวกรอง ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

นิยาม :

“ศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ (ศป.ข.)” ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการประสานกิจการการข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง และการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนร่วมกับหน่วยข่าวกรองอื่นภายในประเทศ ได้แก่

                    1) สำนักงาน ศป.ข. กลาง (กทม.)                                                                           4) ศป.ข. ภาค 3 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.อุดรธานี)

                    2) ศป.ข. ภาค 1 พื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล ภาคกลาง และภาคตะวันออก (จ.ชลบุรี)              5) ศป.ข. ภาค 4 พื้นที่ภาคตะวันตกและภาคใต้ตอนบน (จ.เพชรบุรี)

                    3) ศป.ข. ภาค 2 พื้นที่ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่)                                                            6) ศป.ข. ภาค 5 พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง (จ.ปัตตานี)

“การบูรณาการความร่วมมือ” หมายถึง การดำเนินการบูรณาการ อำนวยการ บริหารจัดการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เพื่อให้เกิดเอกภาพในการปฏิบัติงานร่วมกันของหน่วยข่าวในประชาคมข่าวกรองและหน่วยประชาคมข่าวกรองต่างประเทศ กับหน่วยปฏิบัติ/หน่วยบังคับใช้กฎหมายผ่านกลไกศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ (ศป.ข.) เพื่อติดตามประเมินสถานการณ์และปฏิบัติการด้านข่าวกรองทั้งในสถานการณ์ปกติและในการทำงานในลักษณะเฉพาะกิจ แจ้งเตือน ระงับเหตุ ขยายผลการสืบสวน และบรรเทาความเสียหาย ที่จะทำให้ไม่เกิดสถานการณ์ที่คุกคามต่อการรักษาความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะเหตุการณ์ร้ายแรง โดยในส่วนของ ศป.ข. เน้นการประชุมประเมินและติดตามสถานการณ์ในห้วงก่อนและระหว่างเกิดเหตุการณ์ โดยประสานงานกับหน่วยข่าวในประชาคมข่าวกรองทั้งในพื้นที่ส่วนกลางและภูมิภาค (ศป.ข.ภาค 1-5)

“สถานการณ์เหตุการณ์ร้ายแรง” หมายถึง สถานการณ์ฉุกเฉิน สถานการณ์การก่อความไม่สงบ หรือมีเหตุอันควรให้เชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรง โดยเฉพาะจากการก่อการร้ายสากล ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล โดยที่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที เช่น เหตุระเบิดศาลพระพรหมเอราวัณ เป็นต้น

“การก่อการร้ายสากล” หมายถึง การปฏิบัติการ(คุกคามหรือใช้ความรุนแรง) ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มุ่งหวังผลตามเงื่อนไขข้อเรียกร้องทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งส่วนใหญ่จะปฏิบัติการล่วงล้ำเขตแดน หรือเกี่ยวพันกับชาติอื่น การกระทำนั้นอาจเป็นไปได้โดยเอกเทศปราศจากการสนับสนุนจากรัฐใด หรือมีรัฐใดรัฐหนึ่งสนับสนุนรู้เห็นก็ได้

ขอบเขตการประเมิน : ประเมินผลสำเร็จของการดำเนินการบูรณาการด้านการข่าว การเฝ้าระวังภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยในพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งในภาวะปกติและช่วงที่มีสถานการณ์หรือช่วงเทศกาลสำคัญ
                              พระราชพิธี การประชุมหรืองานพิธีการสำคัญของรัฐ เพื่อสนับสนุนการป้องกัน ป้องปราม หรือแก้ไขสถานการณ์ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินรุนแรงเกิดขึ้น และปฏิบัติต่อเนื่องจนสิ้นสุด
                              สถานการณ์ (ยกเว้น สถานการณ์ความรุนแรงและไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.นราธิวาส)

วิธีการเก็บข้อมูล :     ติดตามผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการบูรณาการของศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยประเมินผลจากจำนวนรายงานการประชุม
                              การประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ รายงานแจ้งเตือนที่กระจายข่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการปฏิบัติงานร่วมกันกับประชาคมข่าวกรอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ
                              กิจกรรมเครือข่าย และรายงานผลการสำรวจความต้องการ/ความคาดหวัง ความผูกพัน และความพึงพอใจต่อการบูรณาการข่าวกรอง ของ ศป.ข. (กับประชาคมข่าวกรอง)
                              ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาการบูรณาการข่าวกรองของศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ (ศป.ข.)

แหล่งที่มาของข้อมูล : สรุปรายงานผลการดำเนินการของศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และรายงานผลสำรวจความต้องการ/ความคาดหวัง ความผูกพัน และความพึงพอใจต่อ
                                   การบูรณาการข่าวกรอง และรายงานแผนพัฒนาการบูรณาการข่าวกรองของศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ (ศป.ข.)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของการบูรณาการความร่วมมือด้านการข่าวกับประชาคมข่าวกรอง และหน่วยงานความมั่นคง 0.00 (จำนวนเหตุการณ์)

รายละเอียดตัวชี้วัด

เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนการบูรณาการระบบฐานข้อมูลด้านความมั่นคงในส่วนของภารกิจของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคง ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) ที่ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ และนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“การบูรณาการระบบงานข่าวกรองด้านความมั่นคง” หมายถึง การดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมืออย่างเป็นเอกภาพในประชาคมข่าวกรอง หน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนพัฒนาขีดวามสามารถของระบบงานข่าวกรอง และเชื่อมโยงข้อมูลด้านการข่าวเพื่อนำไปสู่การแจ้งเตือน การสั่งการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและทันต่อสถานการณ์

“การบูรณาการด้านการข่าวแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงกับหน่วยสมาชิก” หมายถึง การสร้างช่องทางโดยใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล ระบบฐานข้อมูลข่าวกลาง และผ่านระบบฐานข้อมูลด้านการข่าว
ในการนำเข้าข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงของแต่ละหน่วยประชาคมข่าวกรองเพื่อนำมารวบรวมเก็บไว้ในแหล่งเดียวกัน หรืออนุญาตให้เข้าใช้งานระบบฐานข้อมูลด้านการข่าว เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันของหน่วยประชาคมข่าวกรอง

“ระบบฐานข้อมูล” หมายถึง  การพัฒนาระบบให้รองรับการวิเคราะห์ ตรวจจับใบหน้า บุคคลเป้าหมาย จากไฟล์วีดีโอ และกล้องวงจรปิด   และพัฒนาระบบให้สามารถวิเคราะห์ อ่านข้อมูลเนื้อหาข่าว ข้อมูลพฤติการณ์ หรือข้อมูลที่มีอยู่ในระบบเดิม ให้เป็นรูปแบบข้อมูลเชิงสรุปรวม ตามที่ศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติกำหนด   รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ แสดงผลวิเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ข้อมูลที่มีในระบบ หรือจากแหล่งข้อมูลที่ได้เชื่อมโยงบูรณาการกับระบบฐานข้อมูลด้านการข่าว   รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระบบตรวจจับและจดจำใบหน้า ระบบฐานข้อมูลด้านการข่าวและระบบอื่น ๆ ในอนาคตในรูปแบบ Web Service หรือ Application Programming Interface (API) เพื่อประเมินสถานการณ์สำหรับการตัดสินใจอย่างทันท่วงที

ขอบเขตการประเมิน :  ประเมินผลสำเร็จของการบูรณาการการเชื่อมโยงข้อมูลด้านการข่าว  และผลสำเร็จของการพัฒนาระบบประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ด้านการข่าว

วิธีการเก็บข้อมูล :     ติดตามการนำเข้าข้อมูลข่าวสารเพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลด้านการข่าว โดยประเมินผลจากจำนวนหน่วยประชาคมข่าวกรองที่มีการบูรณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคง  รวมถึงประเมินผลจากจำนวนข้อมูลที่จัดเก็บในระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และระบบฐานข้อมูลข่าวกลาง ซึ่งเป็นระบบย่อยของระบบฐานข้อมูลด้านการข่าว และจำนวนการขยาย ความร่วมมือกับหน่วนงานบูรณาการที่เพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 อย่างน้อย 4 หน่วย ได้แก่ กรมข่าวทหาร (ขว.ทหาร) กรมข่าวทหารบก (ขว.ทบ.) กรมข่าวทหารเรือ (ขว.ทร.) กรมข่าวทหารอากาศ (ขว.ทอ.)

แหล่งที่มาของข้อมูล :   ระบบฐานข้อมูลด้านการข่าว

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
- แผนการดำเนินงาน (roadmap) การพัฒนาระบบฐานข้อมูล และการบูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยประชาคมข่าวกรอง ตามระเบียบสำนักข่าวกรองแห่งชาติว่าด้วยศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ พ.ศ. 2562 - แผนการดำเนินงานเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลกับหน่วยประชาคมข่าวกรอง ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยงาน (หน่วยประชาคมข่าวกรองกลุ่มที่ 1 ) - เอกสารแสดงให้เห็นถึงการออกแบบระบบฐานข้อมูล ผ่าน
-การบูรณาการด้านการข่าวแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยประชาคมข่าวกรอง ขยายความร่วมมือ ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยงาน (หน่วยประชาคมข่าวกรองกลุ่มที่ 1 ) -รายงานผลการออกแบบระบบฐานข้อมูล ผ่าน
- การบูรณาการด้านการข่าวแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยประชาคมข่าวกรอง ขยายความร่วมมือมากกว่า 4 หน่วยงาน (หน่วยประชาคมข่าวกรองกลุ่มที่ 1 ) - ระบบฐานข้อมูลที่สามารถใช้งานได้ และทดลองใช้ร่วมกับหน่วยประชาคมข่าวกรองไม่น้อยกว่า 4 หน่วย ที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

นิยาม :

“กลไกขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้” หมายถึง คณะทำงานของฝ่ายรัฐซึ่งทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนแนวทางการต่อสู้ของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง (ผกร.) ที่มีอิทธิพลอย่างแท้จริง มาเป็นการต่อสู้อย่างสันติวิธี โดยเป็นหลักประกันความต่อเนื่องด้วยการเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ทั้งหมดเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา กลไกประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่

•คณะกรรมการอำนวยการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี นรม.เป็นประธาน ทำหน้าที่ตัดสินใจทางนโยบาย อำนวยการ กำหนดทิศทางและขอบเขตการพูดคุยฯ

•คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คพส.) มีบุคคลที่ นรม.แต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะ ทำหน้าที่ดำเนินงานพูดคุยกับกลุ่ม ผกร.ที่มีอิทธิพลอย่างแท้จริง ในช่องทางที่เป็นทางการ วิเคราะห์ท่าที ทัศนคติของกลุ่ม ผกร.ดังกล่าว ประชาสัมพันธ์ผลการใช้แนวทางสันติวิธีกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งใน จชต.และต่างประเทศ ประสานงานกับผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยฯ ที่รัฐบาลมาเลเซียแต่งตั้ง

•สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้  (สล.คพส.) ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ของกระบวนการพูดคุยฯ และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อ นรม.

•คณะประสานงานระดับพื้นที่ มี มทภ.4 เป็นหัวหน้าคณะ ทำหน้าที่สร้างสภาวะแวดล้อมใน จชต.ให้เอื้อต่อกระบวนการพูดคุยฯ ประเมินสถานการณ์ที่เป็นผลสะท้อนจากการพูดคุยฯ ทุกด้าน

“กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่มีอิทธิพลอย่างแท้จริง” หมายถึง กลุ่มที่ใช้ความรุนแรงก่อเหตุใน จชต. มีแกนนำระดับสูงอาศัยในฝั่งมาเลเซีย ปัจจุบัน กลุ่มดังกล่าวจัดตั้งคณะพูดคุยเพื่อทำหน้าที่พูดคุยกับฝ่ายรัฐ และ เพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน จชต.

“ความสำเร็จของการสนับสนุนข้อมูลข่าวกรอง” หมายถึง กลไกขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยฯ สามารถนำข้อมูลข่าวกรองของ สขช. ไปใช้ประโยชน์ในการระบุกลุ่ม ผกร.ที่มีอิทธิพลอย่างแท้จริง สามารถประมวลวิเคราะห์และประเมินท่าที/นโยบายที่ทำให้ฝ่ายรัฐได้ประโยชน์ หรือได้เปรียบในการพูดคุยฯ ได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถร่วมมือกับผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยฝ่ายมาเลเซียที่มีต่อกระบวนการพูดคุยฯ ได้อย่างเหมาะสม

ขอบเขตการประเมิน :  ประเมินจาก

                                 1. ข้อมูลที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติจัดเตรียมให้กับคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คพส.) และสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้  (สล.คพส.) ภายใต้กลไกขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้

                                 2.   ความพึงพอใจของผู้ใช้ข่าว

                                       ผู้ใช้ข่าว หมายถึง ผู้ตอบแบบการประเมินผลการสนับสนุนข้อมูลข่าวกรองให้กลไกขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 14 ท่าน ประกอบด้วยผู้แทน คพส.จำนวน 6 ท่าน (6 หน่วยงาน) และผู้แทน สล.คพส. จำนวน 8 ท่าน (4 หน่วยงาน)

วิธีการเก็บข้อมูล :    การสรุปผลการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนข้อมูลข่าวกรองต่อ คพส. และ สล.คพส. ให้นำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข และการสำรวจความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวกรองเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้

แหล่งที่มาของข้อมูล :   การสรุปผลการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนข้อมูลข่าวกรองต่อ คพส. และ สล.คพส. ให้นำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข และการสำรวจความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวกรองเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้

การสำรวจความพึงพอใจ

       การสำรวจความพึงพอใจ ดำเนินการโดยการสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มผู้ใช้ข่าวจำนวน 14 ท่าน โดยแบ่งเป็นผู้ใช้ข่าว 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ผู้แทน คพส. จำนวน 6 ท่าน (6 หน่วยงาน) และ 2) ผู้แทน สล.คพส. จำนวน 8 ท่าน (4 หน่วยงาน)

      ทั้งนี้ การออกแบบสอบถามความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวกรองเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเจรจาคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี โดยแบ่งแบบสอบถามเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ 1) รูปแบบการใช้ประโยชน์ และ 2) ประสิทธิภาพโดยรวมของข้อมูลข่าวกรอง ดังนี้ 1) ความถูกต้องของข่าวที่ส่งมอบ 2) ความครบถ้วนของข่าวที่ส่งมอบ 3) ความทันต่อสถานการณ์ของข่าวที่ส่งมอบ และ 4) การประสานงานร่วมกันของหน่วยงาน

   กำหนดระดับความพึงพอใจเป็น 5 ระดับคะแนน ได้แก่ พึงพอใจมากที่สุด (5) พึงพอใจมาก (4) พึงพอใจปานกลาง (3) พึงพอใจน้อย (2) ไม่พึงพอใจ (1) โดยการวัดระดับความพึงพอใจมีคะแนน 5 4 3 2 1 ตามลำดับ วิธีการประมวลผลคะแนนความพึงพอใจ นำคะแนนความพึงพอใจมาเฉลี่ยเป็นค่าคะแนนความพึงพอใจรวม และแปลงผลคะแนนเป็นค่าร้อยละ

       สูตรการคำนวณ  :   ค่าคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามทุกคน X 100  /  5

        * ให้ดำเนินการสำรวจโดยกำหนดช่วงเวลาการสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลสรุปผลความพึงพอใจ ภายในเดือนกันยายน 2565

 

การคำนวณร้อยละความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวกรองเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเจรจาคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี

กำหนด N      คือ จำนวนผู้ใช้ข่าวที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด

              Xi.     คือ คะแนนความพึงพอใจของผู้ใช้ข่าวคนที่ i

              Xav คือ คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยของ ผู้ใช้ข่าวที่ตอบแบบสอบถาม

โดย         Xav = 𝑿𝟏 + 𝑿𝟐 + … + 𝑿𝑵𝑵(X1 + X2 + … + XN)/N

ถ้า           P      คือ ร้อยละของคะแนนความพึงพอใจ เฉลี่ย

แล้ว        P = 𝑋𝑎𝑣5× 100(Xav/5)× 100

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
รายงานสรุปผลการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนข้อมูลข่าวกรอง ต่อ คพส. และ สล.คพส. ผ่าน
ร้อยละ ความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวกรองเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. 92.30 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

นิยาม   เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนการดำเนินการข่าวกรองอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถการเฝ้าระวัง ติดตามภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อให้เกิดยกระดับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคง ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) ที่ให้ความสำคัญกับการแจ้งเตือนและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์

“ศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” หมายถึง หน่วยงานที่มีหน้าที่เฝ้าติดตามสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตลอดจนประสานงาน แจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

“ภัยคุกคามทางไซเบอร์”  หมายความว่า การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ โดยมิชอบ โดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง

“ข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์” (Cyber Threat Intelligence) หมายถึง กระบวนการรวบรวม ประมวล และวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายตรงข้ามบนโลกไซเบอร์ เพื่อเผยแพร่ข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง โดยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศักยภาพ แรงจูงใจ และวิธีปฏิบัติของฝ่ายตรงข้าม เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการกำหนดมาตรการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์   

“องค์ความรู้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” หมายถึง ความรู้ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดจากประสบการณ์ หรือ จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล โดยความรู้เกิดขึ้นนั้นผู้รับสามารถนำไปใช้ในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ตามประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ได้โดยตรง หรือสามารถนำมาปรับใช้ได้ เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์หรือภารกิจของหน่วยงาน

“การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์” หมายถึง หน่วยงานด้านความมั่นคงนำข้อมูล ข่าวสาร ข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ และองค์ความรู้ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ไปวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การแจ้งเตือน ป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ตามประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 โดยวัดผลจากความพร้อมของหน่วยงานในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ตามประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

“หน่วยงานด้านความมั่นคง” หมายถึง หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงของรัฐ และหน่วยงานที่มีภารกิจหลักเกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ประกอบด้วย
1. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) 2. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) 3. ศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.) 4. กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.) 5. หน่วยข่าวกรองทางทหาร  กรมข่าวทหารบก (ขกท.)
6. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) 7. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) 8. ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.)
9. ศูนย์ไซเบอร์ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทท.) 10. ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก (ทบ.) 11. ศูนย์ไซเบอร์ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือกองทัพเรือ (ทร.) 12. ศูนย์ไซเบอร์กองทัพอากาศ (ทอ.) 13. ศูนย์ไซเบอร์ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม กระทรวงกลาโหม (กห.) 14. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และ 15. สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

“ผลสำเร็จของการพัฒนาเครือข่ายข่าวกรองทางไซเบอร์ ” หมายถึง เครือข่ายข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ของหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ สามารถแลกเปลี่ยนข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์และ องค์ความรู้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และร่วมประเมินสถานการณ์ แจ้งเตือน ตลอดจนมีความพร้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์

ขอบเขตการประเมิน : ประเมินผลสำเร็จของ

                               1. การจัดทำแผนการดำเนินงานจัดตั้งและพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Roadmap ระยะ 3 - 5 ปี) และแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

                               2. ผลการดำเนินงานตามแผนฯ เป้าหมายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อย่างน้อย 10 หน่วยงาน วัดจากร้อยละของผลผลิตตามขั้นตอนที่ปรากฏในแผนฯ ซึ่งอย่างน้อยควรประกอบด้วย

                                 2.1 มีเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ตามเป้าหมายในแผนงาน

                                 2.2 พัฒนาระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้ และข่าวกรองทางไซเบอร์

                                 2.3 การนำองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์ในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยมีผลการประเมินความพร้อมของหน่วยงานด้านความมั่นคง ในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

                                 2.4 แผนการขยายความร่วมมือเครือข่ายข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยงาน

                               3. การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

วิธีการเก็บข้อมูล : ติดตามผลการดำเนินการแผนงานโครงการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

แหล่งที่มาของข้อมูล : สรุปรายงานผลการดำเนินการแผนงานโครงการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 80.00 (ร้อยละ)
จัดทำแผนการดำเนินงานจัดตั้งและพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Roadmap ระยะ 3 - 5 ปี) และแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผ่าน
จัดทำร่างแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำนิยาม
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับ ต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas ที่กำหนด (จำนวน 10 ด้าน) อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่สอดคล้องกับการให้บริการ e-Service ของหน่วยงาน หรือภารกิจด้านนโยบาย ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม  ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

10 Focus Areas
1) ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม SME
2) ด้านการเกษตร
3) ด้านท่องเที่ยว
4) ด้านการมีรายได้และการมีงานทำ
5) ด้านความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน
6) ด้านสุขภาพและการสาธารณสุข
7) ด้านการศึกษา
8) ด้านสิ่งแวดล้อม
9) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ
10) ด้านความมั่นคง

เงื่อนไข
1. หน่วยงานที่มี e-Service ให้เลือก Dataset ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการที่หน่วยงานรับผิดชอบ
2. หน่วยงานด้านนโยบาย เลือก Dataset ที่สนันสนุนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ แผนการปฏิรูปประเทศ Agenda สำคัญ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นได้
3. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการ ในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
4. หน่วยงานเดิมที่มีการดำเนินการตัวชี้วัดนีในปี 2564 ให้คัดเลือกชุดข้อมูลใหม่มาดำเนินการในปี 2565 โดยสามารถนำชุดข้อมูลของปี 2564 มาต่อยอดทำให้ครบ ได้ใน Focus Area ที่คัดเลือก

เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50) = มีรายชื่อชุดข้อมูล (Data Set) ที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Area
เป้าหมายมาตรฐาน (75) = มีคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล (15 คะแนน) / มีระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (10 คะแนน)
เป้าหมายขั้นสูง (100) = นำขึ้นชุดข้อมูล metadata และระบุแหล่งข้อมูล สำหรับชุดข้อมูลที่ถูกจัดในหมวดหมู่สาธารณะ ร้อยละ 100 ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมดบนระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร.กำหนด (20 คะแนน) / นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นภายใต้ของ Focus area อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)

หมายเหตุ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จะตรวจเอกสารหลักฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และสรุปผลคะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) เพื่อเป็นผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดนี้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 96.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน
  • พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยมีเป้าหมายให้ส่วนราชการมีคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดีขึ้นจากผลคะแนนในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  • พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 434.11 (คะแนน)