รายงานผลการประเมิน

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

นิยาม: ระบบสารสนเทศสำหรับเชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญระหว่าง สลน. กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานะของร่าง พ.ร.บ. กระทู้ถาม และข้อปรึกษาหารือ
ส.ส./ส.ว. เพื่อให้ สลน. สามารถสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการแผนดิน โดยเป็นโครงการสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563

สูตรคำนวณ : ความสำเร็จในการการพัฒนาระบบสารสนเทศติดตามสถานะร่าง พ.ร.บ. กระทู้ถาม และข้อปรึกษาหารือ สส/สว วัดจากขั้นตอนการดำเนินการ

ขั้นตอนการดำเนินการ

1.โครงการได้รับการอนุมัติหลักการจาก ลธน.

2.ดำเนินการกำหนดขอบเขตของงาน ประกวดราคา และจัดซื้อจัดจ้าง

3.ดำเนินการสำรวจ วิเคราะห์ ออกแบบระบบและจัดทำโปรแกรมต้นแบบ (Prototype)

4.ประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจการใช้งานโปรแกรมต้นแบบ (Prototype)

5.ระบบได้รับความเห็นชอบจาก ลธน. และมีการนำไปใช้

 

ผลผลิตการดำเนินการ

ผลผลิตที่ 1

มีโปรแกรมต้นแบบ (Prototype) ที่ผ่านกระบวนการสำรวจความต้องการเพื่อศึกษาวิเคราะห์และออกแบบระบบ (บรรลุขั้นที่ 3)

ผลผลิตที่ 2

โปรแกรมต้นแบบ (Prototype) ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในการทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมเพื่อนำไปใช้ (บรรลุขั้นที่ 4)

ผลผลิตที่ 3

ระบบสารสนเทศแล้วเสร็จและได้รับความเห็นชอบจาก ลธน. ให้นำไปใช้ โดยรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่น ๆ (บรรลุขั้นที่ 5)

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลผลิตที่ 1 มีโปรแกรมต้นแบบ (Prototype) ที่ผ่านกระบวนการสำรวจความต้องการ เพื่อศึกษาวิเคราะห์และออกแบบระบบ (บรรลุขั้นที่ 3) ไม่ผ่าน
ผลผลิตที่ 2 โปรแกรมต้นแบบ (Prototype) ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในการทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมเพื่อนำไปใช้ (บรรลุขั้นที่ 4 ไม่ผ่าน
ผลผลิตที่ 3 ระบบสารสนเทศแล้วเสร็จและได้รับความเห็นชอบจาก ลธน. ให้นำไปใช้ โดยรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่น ๆ (บรรลุขั้นที่ 5) ไม่ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

•นิยาม : ความเชื่อมั่น คือ การรับรู้ การให้การยอมรับ มีความไว้วางใจ และมีความมั่นใจต่อการปฏิบัติงานและการให้บริการของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

•ขอบเขตการประเมิน : วัดความเชื่อมั่นของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

•สูตรคำนวณ : ร้อยละความเชื่อมั่น = ค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่น x 100/5

•วิธีการเก็บข้อมูล : โดยการทอดแบบสำรวจความเชื่อมั่น นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เรียนรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

•แหล่งที่มาของข้อมูล : เป็นแหล่งปฐมภูมิ (Primary source) โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดำเนินการเอง

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความเชื่อมั่นของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 91.83 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•นิยาม : การติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นโยบายของรัฐบาลบรรลุเป้าหมาย

•ขอบเขตการประเมิน : ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญที่กำหนดไว้

•สูตรคำนวณ : การดำเนินการเป็นไปตามที่กำหนดในค่าเป้าหมาย

•วิธีการเก็บข้อมูล :โดยการจัดเก็บข้อมูลจากการดำเนินการจริง 

•แหล่งที่มาของข้อมูล   

1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary source) เป็นข้อมูลที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดำเนินการเอง

2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source) เป็นข้อมูลที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้รับจากหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง

 

นโยบายสำคัญ ปี 2565

1.การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

2.การพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

3.การส่งเสริม 5G สมาร์ทซิตี้ (การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบดิจิทัลและสื่อสารโทรคมนาคมอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี 5G)

4.การขับเคลื่อนการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21

5.การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน

6.การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม

7.การบริหารจัดการน้ำ

8.การแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5

 

ขั้นตอนการดำเนินการ

1.ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อเสนอและแนวทางในการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล

2.จัดทำรายงานสรุปการติดตามและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล พร้อมความคืบหน้าทั้งปัญหาอุปสรรคเสนอ นรม./รอง นรม.

3.จัดทำข้อเสนอแนะการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล เสนอ นรม. / รอง นรม.

4.แจ้งส่วนราชการดำเนินการตามข้อสั่งการ นรม.

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จของการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล 8 (ประเด็น)

รายละเอียดตัวชี้วัด

นิยาม
การชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ เป็นแนวทางการสร้างการรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน โดยเฉพาะประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชน และมีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดข้อสงสัยในการทำงานของส่วนราชการ นำไปสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนมีผลต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในการบริหารราชการแผ่นดิน

ขอบเขตการดำเนินงาน : กระบวนการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ มีกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้
1) ติดตาม และตรวจสอบการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่อยู่ในความสนใจของประชาชน (16 ชั่วโมง)
2) วิเคราะห์และตรวจสอบเนื้อหาการนำเสนอข่าวและกำหนดประเด็นสำคัญที่ทันสถานการณ์ให้ส่วนราชการชี้แจง (4 ชั่วโมง)
3) ติดตามการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันสถานการณ์ของส่วนราชการและจัดทำชุดข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน (24 ชั่วโมง)
4) ประเมินผลการชี้แจงและจัดทำรายงานเสนอต่อ สำนักงาน ก.พ.ร. (16 ชั่วโมง)

แหล่งที่มาของข้อมูล : ส่วนราชการที่ชี้แจงประเด็นสำคัญ

วิธีการเก็บข้อมูล : จากการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ 

สูตรการคำนวณ : ร้อยละประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน   =  [ จำนวนประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน / จำนวนประเด็นที่กำหนดให้หน่วยงานชี้แจงทั้งหมด ] x 100

ข้อมูลพื้นฐาน

ปีงบประมาณ 2562 2563 2564
จำนวนประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 168 70 103
จำนวนประเด็นชี้แจงที่กำหนดให้หน่วยงานชี้แจงทั้งหมด 192 91 126
ผลการดำเนินงาน 87.50 76.92 81.74


หมายเหตุ 
- ประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน หมายถึง ประเด็นชี้แจงที่ได้คะแนนประเมิน มากก่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 (โดยคะแนนประเมินพิจารณาจาก ความทันเวลา คุณภาพเนื้อหา วิธีการชี้แจง และช่องทางการเผยแพร่ ตามรายละเอียดในเกณ์การประเมิน)
- โดยมีปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องที่ทำให้ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ 1) หน่วยงานไม่เข้ามาตอบรับและไม่มีการชี้แจงประเด็นตามกระบวนการ 2) หน่วยงานตอบรับและชี้แจงไม่ทันเวลา ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะไม่ได้รับการประเมิน 3) หน่วยงานไม่เข้าใจกระบวนงาน หรือไม่ส่งหลักฐานการชี้แจง
- การกำหนดประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยการพิจารณาจากประเด็นชี้แจงที่ได้คะแนนเฉลี่ย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 เป็นการกำหนดโดยความเห็นร่วมกันระหว่าง 4 หน่วยงาน คือ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักโฆษก และสำนักงานพัฒนาระบบดิจิทัล 

เงื่อนไข 
มีกระบวนการติดตาม และตรวจสอบการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่อยู่ในความสนใจของประชาชน วิเคราะห์และตรวจสอบเนื้อหารการนำเสนอข่าวเพื่อกำหนดประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ให้ส่วนราชการชี้แจง และติดตามการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันสถานการณ์ของส่วนราชการและจัดทำชุดข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน ทุกวัน มีการประเมินผลการชี้แจงและจัดทำรายงานเสนอต่อสำนักงาน ก.พ.ร. ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละประเด็นชี้แจงที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 85.94 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

การปรับระบบปฏิบัติการภายใน สลน. ให้เป็นรูปแบบดิจิทัล คือ การปรับเปลี่ยนระบบการปฏิบัติงานภายในองค์กร โดยใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อช่วยในการปฏิบัติงานให้สะดวกรวดเร็ว การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีระบบการปฏิบัติงานที่สามารถการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือมาตรการทำงานที่บ้าน (Work from home) โดยในปี 2565 สลน. มีเป้าหมายในการปรับระบบการทำงานเป็นดิจิทัล จำนวน 3 ระบบ คือ

     1) ระบบทะเบียนครุภัณฑ์

     2) ระบบวาระงานของนายกรัฐมนตรี

     3) ระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature)

สูตรคำนวณ : ระดับความสำเร็จในการนำระบบปฏิบัติการภายใน สลน. รูปแบบดิจิทัลไปสู่การปฏิบัติ  (Digitalize Process) วัดจากผลผลิตการดำเนินการ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้มีการนำระบบไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการประเมินผล

 

ผลผลิตการดำเนินการ

ระดับที่ 1 พัฒนาระบบสารสนเทศสำเร็จ 2 ระบบ

ระดับที่ 2 พัฒนาระบบสารสนเทศสำเร็จ 3 ระบบ

ระดับที่ 3 ระบบฯ ถูกนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมประเมินผลการใช้งาน จำนวน 1 ระบบ

ระดับที่ 4 ระบบฯ ถูกนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมประเมินผลการใช้งาน จำนวน 2 ระบบ

ระดับที่ 5 ระบบฯ ถูกนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  พร้อมประเมินผลการใช้งาน จำนวน 3 ระบบ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ระดับที่ 1 พัฒนาระบบสารสนเทศสำเร็จ 2 ระบบ ระดับที่ 2 พัฒนาระบบสารสนเทศสำเร็จ 3 ระบบ ผ่าน
ระบบฯ ถูกนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมประเมินผลการใช้งาน จำนวน 1 ระบบ 2 (ระบบ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน
  • พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยมีเป้าหมายให้ส่วนราชการมีคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดีขึ้นจากผลคะแนนในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  • พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 422.32 (คะแนน)