รายงานผลการประเมิน

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

•นิยาม   ตัวชี้วัดนี้เป็นการสำรวจ/วัดความพึงพอใจในคุณภาพของข้อมูลประกอบการวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรี ที่คณะรัฐมนตรีมีต่อข้อมูลประกอบคำวินิจฉัย ซึ่งจัดทำโดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ระดับคะแนนคุณภาพของข้อมูลประกอบการวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย

1)ความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูล 2) ความรวดเร็วและทันเวลาของข้อมูล 3) ประโยชน์ต่อการพิจารณาตัดสินใจ

•สูตรคำนวณ   ผลรวมคะแนนเฉลี่ยระดับความพึงพอใจฯ / จำนวนคณะรัฐมนตรีที่ตอบแบบสำรวจ

•วิธีการเก็บข้อมูล       ทอดแบบสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพของข้อมูลประกอบการวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรีกับคณะรัฐมนตรี

•แหล่งที่มาของข้อมูล สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจฯ

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ระดับคะแนนคุณภาพของข้อมูลประกอบ การวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรี 9.09 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•นิยาม : เป็นการวัดความสำเร็จของการแจ้งมติคณะรัฐมนตรีให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องรับทราบภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยระยะเวลาที่กำหนด หมายถึง ระยะเวลาที่ใช้ในการแจ้งมติคณะรัฐมนตรีได้ภายใน 3 วันทำการ นับจากวันถัดจากวันประชุมคณะรัฐมนตรี

•จำนวนมติคณะรัฐมนตรี หมายถึง เรื่องที่นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีทุกเรื่อง และรวมถึงข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้ง

•สูตรคำนวณ   จำนวนมติคณะรัฐมนตรีที่แจ้งให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องได้ภายใน 3 วันทำการ  X  100 /   จำนวนมติคณะรัฐมนตรีทั้งหมด

•วิธีการเก็บข้อมูล  สืบค้นจากระบบ Soc Portal ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

•แหล่งที่มาของข้อมูล  ระบบ Soc Portal ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละของจำนวนมติคณะรัฐมนตรี ที่แจ้งให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องภายใน ระยะเวลาที่กำหนด 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•คณะรัฐมนตรีมีมติ (17 มกราคม 2560) เห็นชอบแนวทางการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ ตามมติคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 ที่มอบหมายให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่กฎหมายที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

•เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจในกฎหมายที่เป็นเรื่องสำคัญอยู่ในความสนใจของประชาชนและมีผลกระทบกับหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชนโดยทั่วไป
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้จัดทำสรุปสาระสำคัญของกฎหมาย วันที่มีผลใช้บังคับ เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สามารถดาวน์โหลดกฎหมายฉบับสมบูรณ์ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้

•“กฎหมาย” หมายความว่า รัฐธรรมนูญ (รธน.) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.) พระราชบัญญัติ (พรบ.) ประมวลกฎหมาย (ป.) พระราชกำหนด (พรก.)

•สูตรคำนวณ จำนวนกฎหมายตามนิยามที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของ สลค. X  100 /  จำนวนกฎหมายตามนิยามที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาทั้งหมด

                                       

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ร้อยละความสำเร็จในการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน ภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐ 100.00 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•คณะรัฐมนตรีมีมติ (17 มกราคม 2560) เห็นชอบแนวทางการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ ตามมติคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งขาติ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559
ที่มอบหมายให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่กฎหมายที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

•เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจในกฎหมายที่เป็นเรื่องสำคัญอยู่ในความสนใจของประชาชนและมีผลกระทบกับหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชนโดยทั่วไป สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดทำสรุปสาระสำคัญของกฎหมาย วันที่มีผลใช้บังคับ เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สามารถดาวน์โหลดกฎหมายฉบับสมบูรณ์ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560

•การเผยแพร่กฎหมายที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษาซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2547 ผ่านระบบสารสนเทศที่รองรับกระบวนการประกาศเรื่องฯ ดังกล่าว อย่างไรก็ดี การดำเนินการเผยแพร่กฎหมายที่จะประกาศราชกิจจานุเบกษาที่ผ่านมามีปัญหาอุปสรรคหลายประการ อาทิ กระบวนการตรวจสอบเรื่องที่จะลงประกาศราชกิจจานุเบกษาตามระเบียบฯ มีหลายขั้นตอน ไม่รองรับระบบสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับร่างกฎหมายที่จะลงประกาศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและหลายเรื่องมีความเร่งด่วนในการบังคับใช้ ต้องประกาศให้ทันภายในกรอบระยะเวลา จึงอาจเกิดความล่าช้าในการประกาศได้ นอกจากนี้ กระบวนการนำเรื่องลงประกาศยังดำเนินการในรูปแบบ ขั้นตอน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเดิมที่ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งเหมาะสมกับช่วงเวลานั้น อย่างไรก็ดี การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าวมีขั้นตอนมาก ซับซ้อน และปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ขาดระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่สูง และในอนาคตหากไม่สามารถบำรุงรักษาต่อไปได้จะส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อการลงประกาศและเผยแพร่ข้อมูลราชกิจจานุเบกษา ในขณะที่ข้อมูลราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อมูลสำคัญที่จะต้องเผยแพร่ได้ตามเวลาที่กำหนดเพื่อให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลดังกล่าว

•จากปัญหาอุปสรรคข้างต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะต้องปรับปรุงกระบวนการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษาให้สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว โดยจะมีการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2547 และพัฒนาแพลตฟอร์มกลางสำหรับการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้ส่วนราชการสามารถประกาศเรื่องได้เอง ซึ่งจะทำให้การประกาศเรื่องทำได้รวดเร็วขึ้น คล่องตัวมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับการประกาศเรื่องผ่านแพลตฟอร์มกลาง และใช้สำหรับจัดการฐานข้อมูลราชกิจจานุเบกษาให้มีความถูกต้อง ทันสมัย สืบค้นได้ง่าย มีความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลระดับสูง มีระบบสนับสนุน (back office) ที่ช่วยลดขั้นตอน ลดการใช้กำลังคน สามารถเผยแพร่ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการรับรู้เข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายสำคัญต่าง ๆ รวมทั้งรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลกับส่วนราชการที่ต้องการใช้ข้อมูลดังกล่าว

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
นำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษาเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ผ่าน
ออกแบบพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประกาศราชกิจจาฯ และจัดหาระบบคอมพิวเตอร์แล้วเสร็จ ผ่าน
ทดสอบระบบการถ่ายโอนข้อมูลเข้าสู่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประกาศราชกิจจานุเบกษา ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำนิยาม
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับ ต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas ที่กำหนด (จำนวน 10 ด้าน) อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่สอดคล้องกับการให้บริการ e-Service ของหน่วยงาน หรือภารกิจด้านนโยบาย ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม  ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

10 Focus Areas
1) ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม SME
2) ด้านการเกษตร
3) ด้านท่องเที่ยว
4) ด้านการมีรายได้และการมีงานทำ
5) ด้านความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน
6) ด้านสุขภาพและการสาธารณสุข
7) ด้านการศึกษา
8) ด้านสิ่งแวดล้อม
9) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ
10) ด้านความมั่นคง

เงื่อนไข
1. หน่วยงานที่มี e-Service ให้เลือก Dataset ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการที่หน่วยงานรับผิดชอบ
2. หน่วยงานด้านนโยบาย เลือก Dataset ที่สนันสนุนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ แผนการปฏิรูปประเทศ Agenda สำคัญ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นได้
3. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการ ในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
4. หน่วยงานเดิมที่มีการดำเนินการตัวชี้วัดนีในปี 2564 ให้คัดเลือกชุดข้อมูลใหม่มาดำเนินการในปี 2565 โดยสามารถนำชุดข้อมูลของปี 2564 มาต่อยอดทำให้ครบ ได้ใน Focus Area ที่คัดเลือก

เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50) = มีรายชื่อชุดข้อมูล (Data Set) ที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Area
เป้าหมายมาตรฐาน (75) = มีคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล (15 คะแนน) / มีระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (10 คะแนน)
เป้าหมายขั้นสูง (100) = นำขึ้นชุดข้อมูล metadata และระบุแหล่งข้อมูล สำหรับชุดข้อมูลที่ถูกจัดในหมวดหมู่สาธารณะ ร้อยละ 100 ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมดบนระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร.กำหนด (20 คะแนน) / นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นภายใต้ของ Focus area อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)

หมายเหตุ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จะตรวจเอกสารหลักฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และสรุปผลคะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) เพื่อเป็นผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดนี้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน
  • พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยมีเป้าหมายให้ส่วนราชการมีคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดีขึ้นจากผลคะแนนในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  • พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 350.94 (คะแนน)