รายงานผลการประเมิน

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

/ สำนักนายกรัฐมนตรี
น้ำหนัก
100
คะแนนการประเมิน
สรุปผลการประเมิน
-

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • เป็นการประเมินผลความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนางานบริการ Agenda สำคัญตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ใน 12 เรื่อง ซึ่งเป็นงานบริการ ที่สอดคล้องตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) งานบริการตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565 งานบริการตามแนวทางการยกระดับประเทศไทยสู่ 10 อันดับประเทศที่ประกอบธุรกิจได้ง่ายที่สุด (Ease of Doing Business)
  • เป็นการวัดค่าเฉลี่ยความสำเร็จภาพรวม ทั้ง 12 เรื่อง   

12 Agenda ตามมติ ครม. 3 ส.ค. 64

1.  ระบบการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทาง (Ease of traveling)

2.  ระบบการออกบัตรสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์

3.  ระบบช่วยเหลือผู้ว่างงานให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน

4.  ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID)

5.  หนึ่งรหัส หนึ่งผู้ประกอบการ (One Identification : ID One SMEs)

6.  ระบบการแจ้งเตือนสิทธิ์และช่วยเหลือในการรับสวัสดิการของประชาชนตลอดช่วงชีวิต

7.  ศูนย์การร้องเรียนแบบเบ็ดเสร็จ

8.  ระบบการรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

9.  ระบบการอนุญาตวัตถุอันตราย ณ จุดเดียว (Hazardous Substance Single Submission : HSSS)

10. ระบบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (GAP)พืช ประมง และปศุสัตว์

11. ระบบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการขอรับความช่วยเหลือด้านการเกษตร

12. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามแดนทางบกของกลุ่มประเทศ ACMECS ผ่านระบบ NSW

 

แผนการดำเนินการตามตัวชี้วัด 

1.คณะทำงานขับเคลื่อนลงพื้นที่ (Online) ติดตาม ให้คำปรึกษาแนะนำ 12 Agenda

2.ประชุมคณะทำงานฯ เพื่อติดตามสถานะฯ

3.จัดคลินิกร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ เพื่อให้คำปรึกษาตามกลุ่ม (Online)

4.รายงานความก้าวหน้าฯ ต่อ ก.พ.ร.

5.กำหนดกรอบแนวทางการขับเคลื่อนปี 2566

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จในการขับเคลื่อนงานบริการ Agenda ตามมติคณะรัฐมนตรี ให้เป็น Digital Service 94.36 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•เป็นการประเมินผลสำเร็จของงานบริการของหน่วยงานภาครัฐที่สำนักงาน ก.พ.ร. สนับสนุน ให้ยกระดับงานบริการของส่วนราชการไปสู่การให้บริการผ่านออนไลน์เพื่อลดภาระการเดินทางมาติดต่อราชการของประชาชน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563  และวันที่ 3 สิงหาคม 2564

•การขับเคลื่อนให้ส่วนราชการยกระดับงานบริการออนไลน์ จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 

L1  พัฒนางานบริการให้ยื่นคำขอออนไลน์ได้ “สะดวกยื่น”

L2  พัฒนางานบริการให้ยื่นคำขอออนไลน์  และชำระค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการผ่านระบบออนไลน์ได้ “สะดวกจ่าย”  (กรณีที่ส่วนราชการไม่มีการชำระค่าธรรมเนียม จะดำเนินการในขั้น L3 ต่อไป)

L3  พัฒนางานบริการให้ยื่นคำขอออนไลน์ ชำระค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการผ่านระบบออนไลน์  และออกใบอนุมัติ/ใบอนุญาต/เอกสารทางราชการได้ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือการอนุมัติผ่านช่องทาง อิเล็กทรอนิกส์ “สะดวกรับ”

•ทั้งนี้  การยกระดับงานบริการ สำนักงาน ก.พ.ร. มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนให้ส่วนราชการยกระดับงานบริการของส่วนราชการไปสู่การให้บริการผ่านออนไลน์แบบเบ็ดเสร็จ คือสามารถให้บริการได้แบบ End-to-End Process ซึ่งขึ้นกับประเภทงานบริการ  ว่าต้องพัฒนางานบริการให้เบ็ดเสร็จสิ้นสุดในระดับใด (L1/L2/L3)

พิจารณาความสำเร็จจากผลการดำเนินการของส่วนราชการที่สามารถยกระดับงานบริการได้ผ่านเกณฑ์เป้าหมายขั้นมาตรฐาน ของ “ตัวชี้วัดการสร้างนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนงาน (e-Service)”  ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด

พิจารณาความสำเร็จ จากงานบริการที่มีการยกระดับงานบริการ  เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ดังนี้

เป้าหมายการยกระดับงานบริการ 3 ระดับ ได้แก่

ระดับ 1 (Level 1 : L1)
ส่งเสริม สนับสนุนงานบริการของส่วนราชการให้สามารถยกระดับการให้บริการเป็นไปตามเป้าหมายขั้นมาตรฐาน ที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด

ระดับ 2 (Level 2 : L2) 
ส่งเสริม สนับสนุนงานบริการของส่วนราชการให้สามารถยกระดับการให้บริการเป็นไปตามเป้าหมายขั้นมาตรฐาน ที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด

ระดับ 3 (Level 3 : L3)
ส่งเสริม สนับสนุนงานบริการของส่วนราชการให้สามารถยกระดับการให้บริการเป็นไปตามเป้าหมายขั้นมาตรฐาน ที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด

แผนการดำเนินการตามตัวชี้วัด 

1.คณะทำงานขับเคลื่อนลงพื้นที่ (Online) ติดตาม ให้คำปรึกษาแนะนำส่วนราชการที่เลือก e-Service

2.ประชุมคณะทำงานฯ เพื่อติดตามสถานะฯ

3.จัดคลินิกร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ เพื่อให้คำปรึกษาตามกลุ่ม (Online)

4.รายงานความก้าวหน้าฯ ต่อ ก.พ.ร.

5.กำหนดกรอบแนวทางการขับเคลื่อนปี 2566

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ความสำเร็จจากผลการดำเนินการของส่วนราชการที่สามารถยกระดับงานบริการได้ผ่านเกณฑ์เป้าหมายขั้นมาตรฐาน 96.08 (ร้อยละ)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•นิยาม การปฎิรูป (Reform) คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของภาครัฐ ที่ส่งผลต่อการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ตามแนวทางของธนาคารโลก ซึ่งการปฏิรูปที่ประสบความสำเร็จในการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ภาคเอกชนรับรู้และมาใช้บริการ ธนาคารโลกจะให้การรับรองการปฏิรูปนั้น ๆ ซึ่งส่งผลต่อคะแนน และอันดับในรายงานความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ

•สูตรคำนวณ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการปฏิรูปที่เกิดขึ้น โดยวัดจากความก้าวหน้าในการดำเนินการปฎิรูป การอำนวยความสะดวกที่ได้รับจากการปฏิรูป
และการรับรู้และการใช้บริการของภาคเอกชน

•วิธีการเก็บข้อมูล รายงานความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ หรือรายงานผลการดำเนินการปฎิรูปของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากธนาคารโลกไม่ประกาศผล

•แหล่งที่มาของข้อมูล รายงานความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ หรือรายงานผลการดำเนินการปฎิรูปของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากธนาคารโลกไม่ประกาศผล

•การประเมินความสำเร็จการปฏิรูป วัดจากจำนวนการปฏิรูปในรายงานความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ที่ได้รับการยืนยันจากธนาคารโลก

บทบาทของสำนักงาน ก.พ.ร. ในการขับเคลื่อนตัวชี้วัดฯ

1.ประสานงานกับธนาคารโลกในการจัดทำข้อเสนอแนะ และดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามวงรอบการประเมินของธนาคารโลก

2.จัดการประชุม จัดทำช่องทางต่าง ๆ ในการรับฟัง และสร้างการรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการภาครัฐ และการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแก่ภาคเอกชน ได้แก่ Line Facebook และ Website

3.จัดการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตาม และกำกับดูแลการดำเนินการในกรอบการปฏิรูปเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ

4.ประสานงาน และแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ทั้งประเด็นด้านการให้บริการดิจิทัล การปรับปรุงกระบวนงาน และการแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

5.ติดตาม และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แบบสอบถาม และรายงานการปฏิรูปให้มีข้อมูลที่ถูกต้องตามเกณฑ์การประเมินของธนาคารโลก และส่งตรงเวลาตามกรอบการประเมินของธนาคารโลก

6.รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และจัดทำรายงานเพื่อนำเรียนรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ

แผนการดำเนินการตามตัวชี้วัด 

1.ติดตามส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ส่งแผนการดำเนินการปฏิรูปฯ ในปี 2565

2.ติดตามและกำกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนการปฏิรูปฯ

3.สร้างการรับรู้เกี่ยวกับแผนการปฏิรูปฯ และความก้าวหน้าให้แก่ภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเก็บข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากภาคเอกชนผ่านช่องทางต่าง ๆ

4.จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูปฯ ในระยะต่อไป

 

ประเด็นการปฏิรูปในปี พ.ศ. 2565

1.ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ  :  

    1.รวมขั้นตอนการขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่เดิมต้องดำเนินการที่สำนักงานประกันสังคม เข้าไปไว้กับการรวมขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจเมื่อดำเนินการผ่านระบบ Walk-in

    2.เพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ e-Registration ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่องทางปกติ

2.ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง  :  

    1.ลดระยะเวลาการต่อท่อน้ำเสีย

    2.พัฒนาระบบฐานข้อมูล Soil Boring Test ให้มีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีฐาน

3.ด้านการขอใช้ไฟฟ้า  :  1.เพิ่มจำนวนช่างติดตั้งสายไฟฟ้าภายในที่ได้รับการรับรองจาก กฟน. ให้มากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีฐาน

4.ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน  :  

    1.ให้มีการใช้งานระบบเชื่อมข้อมูลนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าร้อยละ 100

    2.พัฒนาระบบโฉนดดิจิทัลใน กทม. และปริมณฑล ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

    3.จัดทำแนวทางการดำเนินการกองทุนชดเชยความเสียหายเมื่อมีการดำเนินธุรกรรมผิดพลาดอันเป็นเหตุจากความบกพร่องโดยสุจริต

5.ด้านการได้รับสินเชื่อ  :  

    1.มีร่างกฎระเบียบเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลค้าปลีกและสาธารณูปโภคเพื่อการได้รับสินเชื่อ

    2.กำหนดแนวทางในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา

    3.เพิ่ม Function ระบบค้นหาหลักประกันทางอิเล็กทรอนิกส์ และเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานระบบดังกล่าวให้มากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีฐาน

6.ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย  :  1.แก้ไขพระราชบัญญัติมหาชนจำกัด เพื่อให้มีความสะดวกในการจัดประชุมและส่งเอกสารของบริษัทผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-meeting, e-delivery และ e-proxy) เพื่ออำนวยความสะดวกต่อกรรมการ ผู้ถือหุ้น และเจ้าหนี้ของบริษัทให้ได้รับข้อมูลอย่างสะดวกและรวดเร็ว

7.ด้านการชำระภาษี  :  

    1.เพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ e-Tax invoice ให้มากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีฐาน

    2.มีแนวทางในการลดจำนวนครั้งในการจ่ายเงินสมทบ

    3.เพิ่มจำนวนผู้ชำระเงินสมทบผ่าน e-Payment ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

8.ด้านการค้าระหว่างประเทศ  :  

    1.พัฒนาการขออนุญาตแบบ B2G ใน NSW จาก Walk-in ให้เป็น online ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีฐาน

    2.กำหนดแนวทางในการลด Closing time ที่ท่าเรือ

9.ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง  :  1.เพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ e-Service ของสำนักงานศาลยุติธรรม และกรมบังคับคดีให้มากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่องทางปกติ

10.ด้านการแก้ปัญหาการล้มละลาย  :  

    1.เพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ e-Service ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่องทางปกติ

    2.ลดขั้นตอน ระยะเวลา ค่าใช้จ่ายในกระบวนงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 1 กระบวนงาน

11. ด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ  :  1.เพิ่ม Function ที่อำนวยความสะดวกแก้ผู้ใช้บริการในระบบ e-Procurement

 

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จำนวนการปฏิรูปเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจตามแนวทางของธนาคารโลก 4.00 (จำนวนการปฏิรูป)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•เป็นการดำเนินการในขอบเขตเกี่ยวกับกิจกรรมทบทวนบทบาทภารกิจภาครัฐ ที่สอดคล้องตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2565) กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การจัดโครงสร้างองค์กร และระบบงานภาครัฐให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว และเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์

•การถ่ายโอนงาน หมายถึง การมอบงานหรือกิจกรรมให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วมดำเนินงานหรือดำเนินการแทนหน่วยงานภาครัฐในบางขั้นตอนหรือทั้งหมด จำแนกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ สัญญา/ใบอนุญาตมอบเอกชน
สัญญาจ้าง และเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อดึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญจากองค์กรภายนอก รวมทั้งเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการทำงานที่นำไปสู่การลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีอยู่

•ขอบเขตการประเมิน : ประเมินจากงานที่สามารถดำเนินการทดลองนำร่องการถ่ายโอนงานฯ (Sandbox) ที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการทบทวนบทบาทภารกิจและปรับปรุงโครงสร้างให้ความเห็นชอบ
ซึ่งมีการถอดบทเรียนจากการขับเคลื่อนการถ่ายโอนงานให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วมดำเนินงานหรือดำเนินการแทนหน่วยงานภาครัฐดังกล่าว

แผนการดำเนินการตามตัวชี้วัด 

1.ประมวลและวิเคราะห์สรุปผล รวมทั้งจัดทำข้อเสนอการคัดเลือกหน่วยงาน นำร่องการถ่ายโอนงานให้ภาคเอกชนฯ เสนอต่อ อ.ก.พ.ร. เพื่อพิจารณา

2.Kick-off  เพื่อขับเคลื่อนการนำร่องการถ่ายโอนงานฯ ไปสู่การปฏิบัติร่วมกับส่วนราชการและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

3.ประมวล และสรุปบทเรียนการถ่ายโอนงานให้ภาคเอกชนฯ (Sandbox) ในแต่ละงานที่ถ่ายโอนฯ (เสนอ อ.ก.พ.ร. เพื่อทราบ)

4.วิเคราะห์และ ถอดบทเรียนการถ่ายโอนงานฯ ในภาพรวม รวมทั้ง เสนอ อ.ก.พ.ร.ฯ เพื่อหารือหรือขอข้อแนะนำ สำหรับการจัดทำคู่มือแนวทาง/ มาตรการ และขั้นตอน /วิธีการในการขับเคลื่อนการถ่ายโอนงานให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วมดำเนินการแทนต่อไป

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
การทดลองนำร่องแนวทางการถ่ายโอนงานให้ภาคเอกชน หรือภาคส่วนอื่น (Sandbox) 6 (งาน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

•กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทางและวิธีการมอบอำนาจการจัดโครงสร้างส่วนราชการ การผ่อนคลายกฎระเบียบหรือข้อจำกัดด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ เพื่อให้การจัดโครงสร้างองค์กรและระบบงานภาครัฐ มีความยืดหยุ่น คล่องตัว รองรับและแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที และระบบราชการมีความเข้มแข็งสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศภายหลังวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID 19 สอดคล้องตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2565) กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้โครงสร้างและระบบการบริหารราชการของส่วนราชการระดับกระทรวง กรม มีความยืดหยุ่น คล่องตัว ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถบูรณาการระบบงาน เงิน คน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและประโยชน์สูงสุดของประเทศ

• การดำเนินการ : การศึกษา ทบทวน หลักเกณฑ์ วิธีการ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดโครงสร้างและระบบบริหารราชการ การจัดทำแนวทางและวิธีการเพื่อสร้างความยืดหยุ่น คล่องตัว

ด้านโครงสร้างส่วนราชการ เช่น การมอบอำนาจการจัดส่วนราชการ การจัดหน่วยงานในรูปแบบ agile  ด้านการงบประมาณ เช่น การใช้วงเงินงบประมาณรวมด้านบุคลากรขององค์กร (block grants) 
ด้านการบริหารงานบุคคล เช่น การกำหนดตำแหน่งตามโครงสร้างองค์กรที่ปรับเปลี่ยน การสรรหาบุคลากรในสายงานที่ขาดแคลน  เพื่อให้การจัดโครงสร้างส่วนราชการและระบบการบริหารราชการของส่วนราชการ มีความยืดหยุ่น คล่องตัว พร้อมทั้งการดำเนินงานกับหน่วยงานนำร่อง อย่างน้อย 2 หน่วยงาน เพื่อให้การกำหนด หลักเกณฑ์ แนวทางและวิธีการ สอดคล้องกับปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดของส่วนราชการ และส่วนราชการสามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม

แผนการดำเนินการตามตัวชี้วัด 

1.ศึกษากฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดโครงสร้างและระบบบริหารราชการ เพื่อสร้างความยืดหยุ่น คล่องตัว ของส่วนราชการ

2.จัดทำร่างกรอบแนวทางฯ

3.รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจาก ผู้บริหารกรม/กพบ. กรม/ผู้ที่เกี่ยวข้อง

4.เสนอ อ.ก.พ.ร.ฯ เพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างกรอบแนวทางฯ

5.ดำเนินการในส่วนราชการนำร่อง 2 ส่วนราชการ

6.สรุปผลการดำเนินการในส่วนราชการนำร่อง

7.เสนอ อ.ก.พ.ร.ฯ พิจารณา

8.เสนอ ก.พ.ร. พิจารณา

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
กรอบแนวทางและวิธีการเพื่อสร้างความยืดหยุ่น คล่องตัวในการบริหารราชการ ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านการบริหารงบประมาณ และด้านบุคลากร ผ่าน
แนวทางและวิธีการเพื่อสร้างความยืดหยุ่นฯ และการดำเนินการในหน่วยงานนำร่อง อย่างน้อย 2 หน่วยงาน ผ่าน
หลักเกณฑ์ แนวทางและวิธีการเพื่อสร้างความยืดหยุ่น คล่องตัว ในการจัดโครงสร้างองค์กรและระบบงาน เสนอ ก.พ.ร. ผ่าน

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • เป็นการประเมินความสำเร็จของการดำเนินการสร้างความเข้มแข็งและการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการเชิงพื้นที่ ให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ในเรื่องของระบบงานโดยการพัฒนารูปแบบและวิธีการทำงานแนวใหม่ โดยการสร้างสมดุลและสานพลังระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ การสร้างนวัตกรรม การปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล เพื่อก้าวไปสู่จังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูงโดยเป็นองค์กรดิจิทัล และใช้นวัตกรรมเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อให้การบริหารราชการ/ การบริการประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและรองรับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงหรือสภาวะวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
  • รูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ((High Performance Provinces : จังหวัด HPP) มี 3 รูปแบบ 

    1. การนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนางาน (Digital Government) : เป็นการปรับกระบวนการทำงานโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อให้ภาครัฐทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การปรับเปลี่ยนการบริการภาครัฐให้เป็นบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) หรือปรับระบบ/บูรณาการฐานข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ หรือนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการดำเนินงาน ปรับกระบวนการทำงานโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อให้ภาครัฐทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

    2. พัฒนานวัตกรรมของภาครัฐ (Public Innovation) : เป็นการพัฒนานวัตกรรมทางการบริหารของจังหวัด เช่น การปรับกระบวนการทำงานใหม่ ๆ โดยเข้ามาดำเนินการร่วมในรูปแบบความร่วมมือ/ การทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนของจังหวัดที่แตกต่างกัน ระหว่างภาครัฐด้วยกัน (ส่วนราชการ จังหวัด และ อปท.) ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หรือสถาบันการศึกษา หรือการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานในกับการพัฒนาในพื้นที่ เช่น จังหวัด อปท. หรือการใช้ทรัพยากรในการทำงานร่วมกันภายในจังหวัดอย่างมีประสิทธิภาพ (Share Resource)

    3. การส่งเสริมและพัฒนาวิธีการปฏิบัติงานไปสู่การเป็นราชการระบบเปิด (Open Government)  : การบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน  การส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายรัฐ หรือการใช้กลไกกรมการจังหวัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือกลไกประชารัฐ การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ และการบริหารราชการ

  • วิธีการประเมิน : พิจารณาจากความสำเร็จของจังหวัดที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมดำเนินการตามแนวทางจังหวัด HPP (1 รูปแบบ) ที่มีผลผลิต/ผลลัพธ์ ตามแผน

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
จังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูงฯ 45 (จังหวัด)

รายละเอียดตัวชี้วัด

คำนิยาม
• บัญชีข้อมูล หมายถึง เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
• คำอธิบายข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด หมายถึง คำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ เป็นส่วนที่บังคับ ต้องทำการอธิบายข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการสำหรับ 1 ชุดข้อมูล ที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำและระบุรายละเอียด
• ระบบบัญชีข้อมูล คือ ระบบงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน เช่น CKAN หรือ อื่น ๆ
• ข้อมูลสาธารณะ หมายถึง ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร/ข้อมูลส่วนบุคคล/ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
• คุณลักษณะแบบเปิด หมายถึง คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ

แนวทางการประเมิน 
1) ส่วนราชการต้องเลือกประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas ที่กำหนด (จำนวน 10 ด้าน) อย่างน้อย 1 ประเด็น ที่สอดคล้องกับการให้บริการ e-Service ของหน่วยงาน หรือภารกิจด้านนโยบาย ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพื่อใช้ในการจัดทำบัญชีชุดข้อมูล (Data Catalog)
2) ส่วนราชการต้องจัดทำชุดข้อมูลที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Areas โดยต้องเป็นกระบวนการทำงานภายใต้ภารกิจหลักที่มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในระดับสูง
3) ให้มีคำอธิบายข้อมูลส่วนหลัก (Mandatory Metadata) 14 รายการตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด
4) ชุดข้อมูลที่ขึ้นในระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) จะเป็นชุดข้อมูลที่ สสช. ใช้ติดตามในการลงทะเบียนระบบบริการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ต่อไป
5) กำหนดให้ส่วนราชการมีระบบบัญชีข้อมูล พร้อมมีข้อมูลสาธารณะ (Open data) ในระบบบัญชีข้อมูลเพื่อเผยแพร่ให้เป็นไปตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ต่อสาธารณะ ร้อยละ 100 ของบัญชีข้อมูล ตามแนวทางที่ สพร. กำหนด
6) ชุดข้อมูลเปิด (Open data) ต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือส่วนราชการสามารถนำชุดข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบการวางแผน พัฒนางานได้
7) การนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม  ประเมินจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำชุดข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการปฏิบัติงาน  เช่น รายงานวิเคราะห์จากชุดข้อมูล  / การมี dashboard จากชุดข้อมูล เป็นต้น

10 Focus Areas
1) ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม SME
2) ด้านการเกษตร
3) ด้านท่องเที่ยว
4) ด้านการมีรายได้และการมีงานทำ
5) ด้านความเหลื่อมล้ำทางสิทธิสวัสดิการประชาชน
6) ด้านสุขภาพและการสาธารณสุข
7) ด้านการศึกษา
8) ด้านสิ่งแวดล้อม
9) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ
10) ด้านความมั่นคง

เงื่อนไข
1. หน่วยงานที่มี e-Service ให้เลือก Dataset ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการที่หน่วยงานรับผิดชอบ
2. หน่วยงานด้านนโยบาย เลือก Dataset ที่สนันสนุนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ แผนการปฏิรูปประเทศ Agenda สำคัญ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นได้
3. ในแต่ละชุดข้อมูล (Data Set) ต้องมีการจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ครบถ้วนจำนวน 14 รายการ หากส่วนราชการมีการจัดทำรายละเอียดไม่ครบ 14 รายการ ในแต่ละชุดข้อมูล จะไม่นับผลการดำเนินงาน
4. หน่วยงานเดิมที่มีการดำเนินการตัวชี้วัดนีในปี 2564 ให้คัดเลือกชุดข้อมูลใหม่มาดำเนินการในปี 2565 โดยสามารถนำชุดข้อมูลของปี 2564 มาต่อยอดทำให้ครบ ได้ใน Focus Area ที่คัดเลือก

เกณฑ์การประเมิน
- เป้าหมายขั้นต้น (50) = มีรายชื่อชุดข้อมูล (Data Set) ที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานตามประเด็นการดำเนินงานภายใต้ Focus Area
เป้าหมายมาตรฐาน (75) = มีคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ สพร. กำหนด (14 รายการ) ของทุกชุดข้อมูล (15 คะแนน) / มีระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (Agency Data Catalog) พร้อมแจ้ง URL ระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  (10 คะแนน)
เป้าหมายขั้นสูง (100) = นำขึ้นชุดข้อมูล metadata และระบุแหล่งข้อมูล สำหรับชุดข้อมูลที่ถูกจัดในหมวดหมู่สาธารณะ ร้อยละ 100 ของชุดข้อมูลเปิดทั้งหมดบนระบบบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน  เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ตามมาตรฐานคุณลักษณะแบบเปิดที่ สพร.กำหนด (20 คะแนน) / นำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ตามประเด็นภายใต้ของ Focus area อย่างน้อย 1 ชุดข้อมูล (5 คะแนน)

หมายเหตุ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จะตรวจเอกสารหลักฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และสรุปผลคะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) เพื่อเป็นผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดนี้

ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
คะแนนการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) 100.00 (คะแนน)

รายละเอียดตัวชี้วัด

  • PMQA 4.0 คือ เครื่องมือการประเมินระบบการบริหารของส่วนราชการในเชิงบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของส่วนราชการกับเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานและความพยายามของส่วนราชการในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน
  • พิจารณาจากความสามารถในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) โดยมีเป้าหมายให้ส่วนราชการมีคะแนนผลการประเมินในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดีขึ้นจากผลคะแนนในขั้นตอนที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
  • พิจารณาจากผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 7 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 การนำองค์การ หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4  การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
ประเด็นการประเมิน ผลการดำเนินงาน
ผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 472.35 (คะแนน)